การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่

อุราณีย์ นรดี

Abstract


การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ และเพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัยคือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 1 จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบยกกลุ่มโดยการจับฉลากเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จำนวน 12 แผน แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 3 ชุด จำนวน 15 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและ เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ t–test แบบ dependent โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมตามแนวการสอน
แบบมอนเตสซอรี่ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนพบว่า ระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
2. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวมอนเตสซอรี่ พบว่า เด็กปฐมวัย
มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวมอนเตสซอรี่โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก


Keywords


ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์; มอนเตสซอรี่

Full Text:

PDF

References


จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2540). การสอนแบบมอนเตสเซอรี่ จากทฤษฎีสู่แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ธนพล จึงศิรกุลวิทย์ และพิชญา ตันธนวิกรัย. (2556). คู่มือการสอนแบบมอนเตสเซอรี่จากทฤษฎีสู่แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอ็ดดูเคชั่น สตูดิโอ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2546). การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับปฐมวัยศึกษา. วารสารการศึกษาปฐมวัย 7(3).

ลำดวล ปั่นสันเทียะ. (2545). ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุพาภรณ์ ชูสาย. (2555). ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสาตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำรวย สุขชัย. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยวรรณ อภินันท์รุ่งดรจน์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนายกวัฒนากร วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก ด้วยกิจกรรมศิลปะศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Mckenzie, K. G. & Zascavage, Z. V. (2012). Montessori Instruction: A Model for Inclusion in Early Childhood Classrooms. Montessori Life, Spring. pp. 32-38.

Carey, K. 2012. What Montessori Says. Montessori Life, Spring, pp. 5-6.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.