การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

อัจฉริยา หนองห้าง

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อทักษะการอ่านเพื่อ
ความเข้าใจ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำการศึกษาวิจัยกับประชากรและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนลำปาววิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย หนังสืออ่านเพิ่มเติม จำนวน 5 เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาวิจัย ปรากฏผล ดังนี้
1. ประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีประสิทธิภาพ 90.12/82.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พบว่า เป็นไปในทางบวกระดับมาก คือ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก


Keywords


การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ; หนังสืออ่านเพิ่มเติม; ทักษะการอ่าน

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

________. (2551). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

จารุวรรณ ภูอองทอง. (2539). การพัฒนารูปแบบระบบการสอนวิชาภาษาอังกฤษที่เหมาะสมสำหรับ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา). มหาสารคาม : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.

จิตตรี จิตต์ปรัชญา. (2537). บทบาทของครูสอนภาษาอังกฤษและความสำเร็จของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 17, ฉบับที่ 2.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อลีน เพลส.

จินตนา ใบกาซูยี. (2543). การเขียนเรื่องสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

เตือนใจ ตันงามตรง (2534). “ภาษาอังกฤษ : กลวิธีการอ่านและการสอนอ่าน” ใน วารสารการอ่าน, ปีที่ 1 ฉบับที่ 7.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2535). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่านและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

ผจงกาญจน์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2540). เทคนิคการสอนอ่านภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิทยา คำตาเทพ (2542). การพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้เนื้อหาท้องถิ่นสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านใหม่สามัคคี อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เนาวรัตน์ นุ่มอุรา (2544). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบเอริกา (ERICA MODEL) และการสอนตามคู่มือครู / เนาวรัตน์ นุ่มอุรา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

บันลือ พฤกษะวัน. (2536). มิติใหม่ในการสอนอ่าน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วีรนุช ปิณฑวนิช (2543). “อนาคตของ “หลักสูตรท้องถิ่น” จะไปทางไหน?”. นิตยสารสานปฏิรูป ปีที่ 3 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2543, 16-23.

พรทิพย์ ชาตะรัตน์. (2545). “การอ่าน : เครื่องมือในการแสวงหาความรู้”. วิชาการ. ปีที่5 ฉบับที่ 1

มกราคม 2545, 59-62.

ประเทิน มหาขันธ์. (2530). การสอนการอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ยืน ภู่วรรณ และคณะ (2535). อรรถาภิธาน : โครงการวิจัยและพัฒนาระบบช่วยแปลภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยด้วยคอมพิวเตอร์ โครงการย่อยอรรถาภิธาน (Thai Thesaurus). ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

วีระ ตันตระกูล และคณะ. (2533). บันไดสู่ความก้างหน้าของข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: อุดมศึกษา.

วิริยะ สิริสิงห์. (2537). การสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตร สานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เซ็นเตอร์ดิสคัฟเวอรี่ จำกัด.

วินัย รอดจ่าย. (2534). การเขียนและการจัดทำหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: ตะเกียง.

สำลี รักสุทธิ. (2544). เทคนิควิธีการเขียนหลักสูตรและการจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุมิตรา อังวัฒนกุล (2549). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2550). วิธีสอนภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2544). แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ชัยนาท : ชมรมพัฒนา

ความรู้ด้านระเบียบกฎหมายและพัฒนาวิชาชีพครู.

สุชาติ ประจวบเหมาะ. (2535). “ภาษาไทย เป็นลมหายใจของการศึกษา”. วิชาการ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน, 55-59.

สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2557). ภาษาอังกฤษของคนไทย อยู่ตรงไหนในอาเซียน.

ประชาชาติธุรกิจ. 3(7), หน้า 9.

สมุทร เซ็นเชาวนิส . (2542). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2542). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนาจ บุญศิริวิบูลย์. (2539). เอกสารการสอนชุดวิชาการอ่านภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Abersold, J.A. and Field, M.L. (1997). From reader to reading teachers issues and

strategies for second language classrooms. New York : Cambridge University Press.

Bartlette, F.C. (1932). Remembering : An experimental and social study. Cambridge : Cambridge University Press.

Carr,Eileem. (1983). The effect of Inference Training on Children’s Comprehension of Expository Test. Journal of Reading Behavior.15(3): 1-18.

Smith, F. (1988). Understanding reading. New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.