การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมกง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

อรพิน ทองดี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมกง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เปรียบเทียบความรู้
เกี่ยวกับการทำขนมกง ตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมกง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) ศึกษาทักษะการทำขนมกง ตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมกง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 และ 4) ศึกษา เจตคติต่อการเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมกง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดวังจิก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวนนักเรียน 19 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมกง 2) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการทำขนมกง มีค่าความเชื่อมั่น 0.955 3) แบบประเมินทักษะการทำขนมกง 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.904 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร 7 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจ
ความต้องการ 2) การกำหนดจุดมุ่งหมาย 3) การเลือกเนื้อหา 4) การจัดเนื้อหา 5) การเลือกประสบการณ์การเรียน 6) การจัดประสบการณ์การเรียน และ 7) การประเมินผลและวิธีการประเมินผล และได้หลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้าง 4) ขอบข่ายเนื้อหา 5) เวลาเรียน 6) แผนการจัดการเรียนรู้ 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 8) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2. คะแนนเฉลี่ยผลการวัดความรู้เกี่ยวกับการทำขนมกง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. คะแนนเฉลี่ยทักษะการทำขนมกงของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก

4. คะแนนเฉลี่ยระดับเจตคติต่อการเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำขนมกง ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด


Keywords


หลักสูตรท้องถิ่น; ความรู้เกี่ยวกับการทำขนมกง; ทักษะการทำขนมกง

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย .

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การประเมินการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยรัตน์ แตงวงษ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรการสานพัดด้ามจิ๋วจากผิวไม่ไผ่ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2552). การพัฒนาหลักสูตร. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

เผดิมชัย มาพันธุ์. (2555). การพัฒนาหลักสูตร เรื่อง การทำไม้กวาด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:

เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

รจนา เล้าสุริพงศ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตร เรื่อง สบู่ดำพืชพลังงานในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สง่า แตงวงษ์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรการทอผ้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านหนองกระทุ่ม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ที่ 2 อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. (2553). กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น. อัดสำเนา.

Taba, Hilda. (1974). Curriculum Development : Theory and Practice (4th ed). New York: Harcourt, Brace And World Nic.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.