การเรียนรู้แบบโครงงานวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนประเมินความฉลาดทางสุขภาวะกับเกณฑ์
ประเมินที่ระดับ 60 ตามเกณฑ์หลักสูตรสถานศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน
และหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลปราณบุรี จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา และพลศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาและแบบวัดความฉลาดทาง สุขภาวะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Dependent และ t - test one - sample t - test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินความฉลาดทางสุขภาวะที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงงาน
วิชาสุขศึกษาและพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นักเรียนมีความฉลาดทางสุขภาวะสูงกว่าเกณฑ์ประเมินที่ระดับ 60 ตามเกณฑ์หลักสูตรสถานศึกษา
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
โดยเปรียบเทียบวิชาหรือกลุ่มสาระต่างๆ ในระดับชั้นเดียวกัน
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด .
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวลิต สีหามาตย์. (2547). ผลการใช้วิธีสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนและเจตนคติต่อวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
นันทวัน สุวรรณรูป. (2545). “ ปัญหาสุขภาพและการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของประชาคมโลก และสมรรถนะของพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพ” คู่มือการสอนการส่งเสริมสุขภาพในหลักสูตร
พยาบาลศาสตรบัณฑิต หน้า 1- 18 ที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันการศึกษา
สาขาพยาบาลศาสตร์ของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ.
นิกุล มณีรัตน์. (2548). ผลการสอนโดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องสารอาหาร ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรยี นสนุ ทรวจิ ติ ร จงั หวดั นครพนม. วิทยานิพนธ์ปรญิ ญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ.(2551). การสอนคิดด้วยโครงงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ: สาฮะแอนด์ซันพริ้นติ้ง จำกัด.
วรรณี จันทร์สว่าง. (2547). “แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ” เอกสารคำสอนรายวิชาพยาบาลเพื่อ
การเสริมสร้างสุขภาพ หน้า 1-14. สงขลา : คณะพยาบาลศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Saksvig, B,I ; et al. (2005). A Pilot School-Based Healthy Eating and Physical Activity Intervention Improves Diet. Food Knowledge. And Self-Efficaty For Native Canadian. Children. J Nutr, 135, 2392 – 2398.
Bloom ,B.S., (1971). Hasting, J. T., and Modon, G.F. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York McGraw – Hill Book.
Refbacks
- There are currently no refbacks.