การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ เรื่องอาเซียน แบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
Abstract
กระบวนการนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการที่ช่วยครูแก้ปัญหาการจัด และการนิเทศแบบ
เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นการนิเทศที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนที่เป็นระบบ โดยใช้ครูตั้งแต่ 2 คน
ขึ้นไปมีการปรึกษาหารือกันร่วมกันสังเกตการสอน เพื่อปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเอง ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน ของครูผู้สอนก่อนและหลัง 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูผู้สอนก่อนและหลัง 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูผู้สอนก่อนและหลังจาก 4) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูผู้สอนหลังจากได้รับการนิเทศ 5) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 6) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียน และ 7) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรีที่มีต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนและการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบ บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 คนและ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 115 คน และสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือในการนิเทศ ส่วนที่ 2 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล การวิจัย มีแบบสังเกต แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ของครูผู้สอน ก่อนและหลัง พบว่า หลังการนิเทศครูมีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก
2. การเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูผู้สอนก่อนและหลัง พบว่า หลังการนิเทศครูมีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก
3. การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูผู้สอนก่อนและ พบว่า หลังการนิเทศครู มีความสามารถ ในระดับมาก
4. ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ของครูผู้สอนหลังจากได้รับการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พบว่า โดยรวมครูมีความสา มารถในระดับมาก
5. ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนและการจัดการเรียนรู้ เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเหมาะสำหรับ
การจัดเรียนรู้ในโรงเรียน เพราะว่าครูได้ช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาการสอนและช่วยการปรับปรุง
การจัดการเรียนการสอน รวมทั้งในการนิเทศจะเป็นการประเมินที่ส่งผลทำให้ครูผู้สอนได้พัฒนาการจัด
การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. การเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรี พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน
7. ความคิดเห็นของนักเรียนโรงเรียนเมืองปราณบุรีที่มีต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนและ
การจัดการเรียนรู้เรื่องอาเซียนแบบบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรม รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านบรรยากาศตามลำดับ
ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสามารถพัฒนาศักยภาพ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูแบบบูรณาการได้อย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดการพัฒนาครู ผู้บริหารเกิดความช่วยเหลือระหว่างครูในการปฏิบัติงานในการสอน เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ประนอม พรมเกตุ. (2550). การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับเทคนิค KWDL ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณพิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สัมภาษณ์ คำผุย. (2556). การพัฒนาสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน. ร้อยเอ็ด : เครือข่ายการนิเทศ การมัธยมศึกษา เครือข่ายที่ 12.
สุทธิศักดิ์ ศรีสมบูรณ์. (2548). การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณพิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรวรรณ เหมือนสุขใจ. (2545). การนิเทศการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Rogers, Warren & Leochko, Dave. (2002). Literature Circles: Tools and Techniques To Inspire Reading Groups. Portage & Main Press
Refbacks
- There are currently no refbacks.