การพัฒนาโมเดลคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2

สุรัติยา คำศรี

Abstract


การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1. เพื่อพัฒนาโมเดลคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนต้น 2. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับ
ข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมเขต 2 กรุงเทพมหานคร ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1,030 คน โดยใช้แบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ข้อคำถามจำนวน 42 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.22 - 0.67 มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านตั้งแต่ 0.74 - 0.95 และความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจได้จำนวน 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความใจกว้างมีเหตุผลการสำรวจสืบค้น ความคิดสร้างสรรค์ ความพยายาม ความซื่อสัตย์ ความละเอียดรอบคอบ และความสนใจ ใฝ่รู้ โดยอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 47.69 ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าค่าดัชนีความกลมกลืนของโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (mean = 690.04, df = 639, /df = 1.08, p = .06, GFI = 0.96, AGFI = 0.94, RMSER = 0.01, SRMR = 0.03, CFI = 1.00)


Keywords


จิตวิทยาศาสตร์; คุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร จำกัด.

ทรายทอง พวกสันเทียะ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลริสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. (พ.ศ. 2555–2559). 2554.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดด้านผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

________. (2542). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2548). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2555, เดือนพฤษภาคม–มิถุนายน) ผลสอบ O - NET ป. 6 และ ม. 3. NTETS News ฉบับที่ 34.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546ก). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

________. (2546ข). แนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

________. (2551ค). ตัวอย่างการประเมินผลวิทยาศาสตร์นานาชาติ PISA และ TIMSS. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุนีย์ คล้ายนิล. (2555). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด .

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (2555). ข้อมูลสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2556, จาก http://www.e-newsbkk2.org/bkk2/forum/data/5/0026.html.

เอนก พ.อนุกูลบุตร. (2548). การวัดภาคจิตพิสัย. วารสารวงการครู. 2(14): 106-110.

Allen, Mary J. ; & Yen, Wendy M. (1997). Introduction to Measurement Theory. CaliforniaWadsworth.

Hair, Joseph F; et al. (1995). Multivariate Date Analysis with Reading. Englewood Cliff, N.J: Prentce

Software Internationa. ed.,USA: Prentice Hull.

Krathwohberl , David R. and Others (1964). Taxonomy of Educational Objectives. Handbook II Affective Domain. New York : David Mckay..

Rowland, G. (2005). Guiding the Evalution Human. (Online). Available from: http://www.learndev.org/dl/BtSM2005-Rowland-v2pdf.

Roy , A. (1998). Scientific Mind and Building of a Society base on Science Oriented Thought. (Online). Avaliablefrom : http://www.muktomona.com/new_site/muktomona/Articles/ajoy/

Sciencetific_mind.htm.

Tangney. J.P.; Baumelster.R.F; & Boone.A.L. (2004, April). High Self-Control Predicts Good

Adjusment. Less Pathology, Better Grades, and Interpersonal Success. Jornal of Personality. 72(2): 271-32


Refbacks

  • There are currently no refbacks.