การพัฒนาสมรรถนะการสอนครูภาษาไทยโดยใช้กระบวนการนิเทศการสอน แบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพ ของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายร่อนทองมงคล
Abstract
การนิเทศการสอนแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพเป็นกระบวนการนิเทศที่ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือ
ครูกับผู้นิเทศร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเอง ผู้วิจัยจึง
สนใจศึกษาเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สมรรถนะการสอนของครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการนิเทศการสอนแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการพัฒนาสมรรถนะ และ3) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาภาษาไทย นักเรียน และผู้นิเทศที่มีต่อกระบวนการนิเทศการสอนแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 301 คน และผู้นิเทศภายในโรงเรียน ในศูนย์เครือข่ายร่อนทองมงคล จำนวน 10 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างสุ่มแบบเจาะจง โดยสุ่มจำนวนตามชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของแต่ละโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือในการนิเทศ ส่วนที่ 2 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลการวิจัยมีแบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีสมรรถนะการสอนและนำความรู้จาก
การนิเทศมาปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก และมีความสามารถในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน อยู่ในระดับ
มากที่สุด
2. การเปรียบเทียบสมรรถนะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนในศูนย์เครือข่าย
ร่อนทองมงคล มีค่าเฉลี่ยหลังการพัฒนา สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการพัฒนา
3. ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนร่วมพัฒนา
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนภาษไทยชั้น 6 หลังจากการนิเทศการสอน
แบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดี โดยเห็นว่าครูมีการปฏิบัติบ่อยครั้งในทุกกิจกรรมมากกว่า ร้อยละ 60
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กัลยา กานิชวงษ์. (2547). การพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประถมศึกษาโดยใช้การนิเทศร่วมมือกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กุลวดี บัวโชติ. (2549). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเอกชนในพระราชสำนัก. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จรูญพร ลำไย. (2547). การนิเทศการสอนแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนและการนิเทศโดยผู้บริหารเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูประถม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
น้ำเย็น เหลือประเสริฐ. (2547). การนิเทศแบบคลินิกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอน แบบโครงงานของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประมวล พลับจุ้ย. (2550). รูปแบบการบริหารงานนิเทศภายในโรงเรียนอนุบาลสุธินี อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 432 412
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศักดิ์ชัย บ่อคำ. (2547). กระบวนการนิเทศแบบเพื่อนร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการประเมินผลตามสมภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมงานของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2554). รายงานการศึกษาสภาพปัญญาและความต้องการในการนิเทศภายในโรงเรียน. หน่วยศึกษานิเทศ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์กรการรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2550). การนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
เสงี่ยม โชติรักษ์. (2550). การนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านหนองบัว อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏนครปฐม.
อาทิตย์ อุดมทรัพย์. (2551). การจัดกิจกรรมนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Spears, Harold. (1967). Improving the Supervision of Instruction. New York : Prentice-Hall Inc.,
Refbacks
- There are currently no refbacks.