การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยอาศัยสถานการณ์จำลอง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนและกิจกรรม
การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยอาศัยสถานการณ์จำลอง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา 2) ประเมินรูปแบบการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยอาศัยสถานการณ์จำลอง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งหมด 11 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยอาศัย สถานการณ์จำลอง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) หลักการออกแบบการเรียนการสอน 3) บริบทและความต้องการแนวทางในการจัด
การเรียนการสอน 4) ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 5) กิจกรรมการเรียนการสอน และ 6) สถานการณ์จำลอง
ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยอาศัยสถานการณ์จำลอง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา มี 5 กิจกรรม คือ 1) การนำเข้าสู่บทเรียน 2) สถานการณ์ปัญหา 3) การเรียนรู้ 4) การช่วยเหลือ และ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2. ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยอาศัยสถานการณ์จำลอง วิชาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Keywords
Full Text:
PDFReferences
จารุณี ซามาตย์. (2552). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่
ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประวิทย์ สิมมาทัน. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีโดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ผกามาศ พีธรากร และจินตนา ทองเพชร. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน
โดยใช้สถานการณ์จำลอง วิชา การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร
เวชกิจฉุกเฉิน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.
สุชาติ วัฒนชัย. (2553). การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่
ส่งเสริมการแก้ปัญหาและการถ่ายโยงการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2547). การพัฒนากระบวนการสร้างความรู้ของผู้เรียนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
โดยความร่วมมือของครูกับนักการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
สัณห์สุดา พลธรรม. (2547). ผลของการใช้มัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม กลุ่มวิชา
สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจักรวาลและอวกาศ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรชุน เณรจิบ. (2552). การสร้างแหล่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบเกมจำลองสถานการณ์
กรณีศึกษา ธุรกิจการเปิดร้านเบเกอรี่. วิทยานิพนธ์คุรศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อัมพร ม้าคนอง. (2543). “การสอนตามแนวทฤษฎี Constrpuctivist ในชั้นเรียนครุศาสตร์”. ครุศาสตร์.
(กรกฎาคม-ตุลาคม 2543) : 74-80
Allassi, Stephen M. and Trollip, Stanley R. (1991). Computer-Based Instruction : Methods and Development. New Jersey : Prentice Hall.
Refbacks
- There are currently no refbacks.