การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม เพื่อวัดทักษะความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจความต้องการของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-
Learning) ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมเพื่อวัดทักษะความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2) เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม เพื่อวัดทักษะความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ที่สร้างขึ้น 4) เพื่อวัดทักษะความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของผู้เรียนหลังเรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ที่สร้างขึ้น 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ที่สร้างขึ้นเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความต้องการบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม เพื่อวัดทักษะความรู้ ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม เพื่อวัดทักษะความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ฯ 4) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของผู้เรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ฯ 5.) แบบวัดทักษะความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของผู้เรียน 6) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ฯ โดยใช้ประชากรเป็นสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมทางวิทยุสื่อสาร (เหยี่ยวเวหา) กองตำรวจสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในกองบังคับการตำรวจนครบาล 3 เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2557 จำนวน 100 คน เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลาก จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ผลสำรวจความต้องการบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เมื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ด้านละ 3 ท่าน รวมทั้งหมด 9 ท่าน แบ่งเป็นด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ด้านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) อยู่ในระดับดี และ
ด้านทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ อยู่ในระดับดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก จึงสรุปได้ว่าการบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์หลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรม เพื่อวัดทักษะความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้ได้จริง
Keywords
Full Text:
PDFReferences
วศิน ภิรมย์. (2557). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการสร้างสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักนำยกรัฐมนตรี.
ศุภชัย สุขะนินทร์. (2545). เปิดโลก E-Learning การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต. (หน้า 15). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อนุชา โสมาบุตร. (2556). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory). สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 3, 2557, จาก https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory/.
กฤติยาณี กองอิ้ม. (2548). ผลของสิ่งแวดล้อมบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาผีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัญฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า ก.
Refbacks
- There are currently no refbacks.