บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง คำยาก วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

พัชรี ไชยสุข

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง คำยาก วิชาภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านบึงกระโดน (ศิริสิงห์อุปถัมภ์) อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง คำยาก วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง คำยาก วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลของการวิจัยปรากฏว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง คำยาก วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.78/81.11
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง คำยาก วิชาภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5802 แสดงว่านักเรียนมีความรู้
เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ร้อยละ 58.02
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง คำยาก วิชาภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมาก


Keywords


บทเรียนคอมพิวเตอร์; คำยาก; วิชาภาษาไทย

Full Text:

PDF

References


กรมวิชาการ. (2543). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

________. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

________. (2545 ก). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภา.

กรุณา พูลสวัสดิ์. (2549). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคำของเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้

ด้านการอ่าน โดยใช้เทคนิคการสอนอ่านด้วยบทร้อยกรอง. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การศึกษาพิเศษ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คำมี ลุงนาม. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง

การแจกลูกสะกดคำ􀄕 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทวีศิลป์ อัยวรรณ. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องทางการ

เขียนสะกดคำไม่ตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพระแท่นดงรัง

อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์. (2550). ทำไมคนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษเสียที. คมชัดลึก.

นันทศิริ ศิริมั่งมูล. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรง

ตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนชุมชนบ้านหนองหิ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 3.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. หลักสูตรการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประไพ พงษ์จิวานิช. (2541). “การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน”. วารสาร

สักทอง. 4, 25-27.

ปัทมา โตอดิเทพย์. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง คำควบกลํ้า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชรินทร์ เวชกามา. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาไทย เรื่อง การสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

มยุรี คุ้มขำ. (2553). บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การแต่ง

บทร้อยกรอง สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3). วิทยานิพนธ์ ค.ม. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ระเบียบ สุจิตตกุล. (2552). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

นักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับช่วงชั้นที่ 2 โดยใช้บทร้อยกรองประกอบภาพ.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รัตนาภรณ์ ซึมเมฆ. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรง

ตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านท่างาม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัชระ เยียระยงค์. (2549). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

และเทคโนโลยี เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิทูรย์ วงษ์อามาตย์. (2552). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชา

คณิตศาสตร์ เรื่องการวัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เสาวลักษณ์ สำเนียง. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรรณพ วิริยะสัจจะ. (2549). “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เกี่ยวกับคำนาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.