การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องสมการและการแก้สมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

พจณีย์ กาญจนเสนา

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์และเรียบเรียงเนื้อหาเรื่องสมการและการแก้สมการตาม
แนวโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ พัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องสมการและการแก้สมการให้มีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์ 80/80 ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์และเรียบเรียงเนื้อหาสมการและการแก้สมการตามแนวโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เป็นการวิจัยเอกสารที่ทำการวิเคราะห์เนื้อหาและประเมินคุณภาพของผลการสังเคราะห์และเรียบเรียง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ จำ นวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาชุดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ทีมีแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดการเรียนรู้ที่เรียบเรียงสาระตามโครงสร้างทางคณิตศาสตร์และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E คู่มือการใช้ชุดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนประจำชุดการเรียนรู้ที่เทยีบเคยีงกบัขอ้สอบทางการศกึ ษาระดบัชาตขิ ัน้ พืน้ ฐานและข้อสอบระดบั ชาติอืน่ ๆ ตัง้ แต่ปี 2529 - 2555 มีอำนาจจำแนก 0.20 - 0.97 ความยาก 0.50 - 0.80 และความเชื่อมั่น 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจมีอำนาจจำแนก 0.37 - 0.91 และความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ระบบจำนวนตรรกยะบวกและศูนย์ภายใต้การดำเนินการบวกและคูณ มีทฤษฎี
ที่สำคัญเกี่ยวข้องกับสมการ มีระเบียบวิธีการแก้สมการมากกว่าที่ปรากฏในแบบเรียนคณิตศาสตร์
ผลประเมินเอกสารการสังเคราะห์และเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องสมการและการแก้สมการ มีประสิทธิภาพ 84.03/82.00 ดัชนีประสิทธิผล 0.56 โดยที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อการใช้ชุดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด


Keywords


การสังเคราะห์และเรียบเรียง; ชุดการเรียนรู้; สมการและการแก้สมการ

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). กระบวนการสันนิเวทนาและระบบสื่อการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา. (หน่วยที่ 1- 5). นนทบุรี: สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

_______. (2533). แนวคิดเทคโนโลยีการศกึ ษา. ใน เอกสารการสอนชุดวชิ าเทคโนโลยแี ละสือ่ สารการศึกษา. (หน่วยที่ 8). นนทบุรี: สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2521). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสิทธิ ทองแจ่มและคณะ. (2544). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาพีชคณิตเชิงเส้น

โดยใช้เครื่องคำนวณเชิงกราฟสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. สถาบันราชภัฎสุราษฎร์ธานี

เปรมทิพย์ รัตนคม. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องตัวหารร่วมมากและตัวคูณร่วมน้อย

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

ฝ่ายวิชาการ, คณะกรรมการ. (2555). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดสำนักขัน

ปีการศึกษา 2554 -2555. นครศรีธรรมราช : ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนวัดสำนักขัน.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์.(2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.

ยุพิน พิพิธกุล.(2540). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

ยุพิน พิพิธกุล และอรพรรณ ตันบรรจง. (2536). เทคโนโลยีการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์

(พิมพ์ครั้งที่ 4 ). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ผลการประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ (TIMSS 2011). สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 21, 2555,

จาก http://www3.ipst.ac.th/files/TIMSS2011

สัทธา สืบดา. (2545). การพัฒนาชุดการสอนเรื่องโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ

การนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุจินดา พัชรภิญโญ. (2548). ชุดการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาระบบสมการ

เชิงเส้นสองตัวแปร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2541). จรรยาบรรณนักวิจัย : แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2555). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎคม 2555, จาก http://www.niets.or.th.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.