การประเมินความต้องการจำ เป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประภา สมาคม

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนา
รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น
ในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยเป็น
การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (Needs Assessment Research) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง และสภาพที่ควรจะเป็นของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 379 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาค่าความต้องการจำเป็นโดยวิธี Priority Need Index แบบปรับปรุง (PNI Modified) ผลการวิจัย
พบว่า
1. สภาพที่เป็นจริงในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mean = 3.94, S.D. = .588)
2. สภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 4.56, S.D. = .467)
3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สำหรับสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกด้าน กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการจำเป็นทุกรายการ โดยมีค่า PNI Modifiedอยู่ระหว่าง 0.19 ถึง 0.12 โดยภาพรวม (0.16)


Keywords


การประเมินความต้องการจำเป็น;การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์; สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Full Text:

PDF

References


ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2543). “การบริหารผลการดำเนินงาน (Performance Management)” รวมบทความวิชาการ 100 ปี รัฐประศาสนศาสตร์ไทย. สาขาวิชารัฐประศาสนาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2546). เทคนิควิธีวิเคราะห์นโยบาย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2543). การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, กรุงเทพฯ. (เอกสารอัดสำเนา).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์ พรินท์.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). ผลการประเมิน PISA 2009

การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บทสรุปเพื่อการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

________. (2556). สภาพการดำเนินงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขันพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์กรเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

(พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Krejcie, & Morgan. (1970). Determining sample size for research in Journal of Educational and Psychological Measurement, 14, 1978.

Williams, Richard S. (1998). Performance Management; Perspectives on Employee Performance. An International Thomson Publishing Company


Refbacks

  • There are currently no refbacks.