อนาคตภาพหลักสูตรพลเมืองศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2565)

นิรมล ตู้จินดา

Abstract


วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาอนาคตภาพหลักสูตรพลเมืองศึกษาระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2555 – 2565) โดยการศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 24 คนด้วยเทคนิคการวิจัยแบบ EDFR และการศึกษาความคิดเห็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านพลเมืองศึกษา จำนวน 363 คน จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ผลการศึกษาพบว่า อนาคตภาพหลักสูตรพลเมืองศึกษา โดยสรุปดังนี้ ในด้านปรัชญาของหลักสูตร
เน้นการศึกษาเพื่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ด้านคุณลักษณะผู้เรียน เป็นผู้มีจิตสำนึกในเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ มีเสรีภาพ มีจิตสาธารณะ ด้านจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองที่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย ด้านรูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร สร้างพลเมืองให้มีภาวะผู้นำ มีจิตสาธารณะต่อการแก้ปัญหาสังคม ด้านสาระการเรียนรู้ จัดสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมแต่ละระดับชั้น เข้าใจการเมืองท้องถิ่น สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นจัดการศึกษาเรียนรู้ รูปแบบโครงการ โครงงาน ในระดับครอบครัว โรงเรียน สังคม ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบการให้ และอาสาช่วยเหลือสังคม ด้านสื่อที่สนับสนุนการเรียนรู้ มุ่งใช้ข่าวเหตุการณ์สถานการณ์จริงของสังคม ด้านการวัดและประเมินผล จากการมีส่วนร่วม การปฏิบัติในชีวิตจริง


Keywords


หลักสูตรพลเมืองศึกษา; อนาคตภาพ; การศึกษาขั้นพื้นฐาน

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงค์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: วีทีซี คอมมิวนิเคชั่น.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). เอกสารรายงานการประชุม การพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างพลเมืองโลกในอนาคต. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษา.(2553). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย.สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2553, จาก http://www.manager.co.th

คณะกรรมาธิการการศึกษา. (2550). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. ม.ป.ท. ถ่ายเอกสาร.

คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์.

คณะกรรมการการวิจัยการศึกษาแห่งชาติ. (2547). ทำดีเพื่อพ่อชีวิตพอเพียง. วารสารสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2551). การวิจัยอนาคต. วารสารสมาคมการวิจัย. 13(2), 9 – 13.

ชินภัทร ภูมิรัตน์. (2553). รายงานการประชุม เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างพลโลกในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง. (2553). โครงการพลเมืองวัยใสใส่ใจบ้านเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สมหวัง พิริยานุวัฒน์. (2548). พลเมืองศึกษาของไทย. วารสารจุฬาสัมพันธ์. 48(18).

Angell, V. Ann. (1991). Democratic Climates in Elementary Classrooms. A review of theory and research, Theory and research in social education. 22(Summer 1991): 241 – 266

Wallace, Joan Tessmer. (2002). The impact of technology on the curriculum form 1986 to 2000 : A Delphi study of recognized authorities in the field of curriculum and instruction. Retrieved December 07, 2002, from http://thailis.uni…net.th/DAO2 detail.nsp


Refbacks

  • There are currently no refbacks.