การศึกษาการใช้คำ กริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย

ทิฆัมพร ออมสิน

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมาย
ใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย 2) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพและศึกษาปัญหาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ชั้นปีที่ 3-4 สาขาภาษาจีน ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 75 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลนักศึกษา 2) แบบสอบถามวัดสภาพและปัญหาการใช้คำกริยาภาษาจีน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .80 ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ขั้นที่ 2 สร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยเชิญอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาจีนจำนวน 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพ
ของการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย จำนวน 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านที่ 1 ผู้เรียนเลือกใช้คำศัพท์จากการแปลความหมายของคำศัพท์จากตำราหรือพจนานุกรม ด้านที่ 2 ผู้เรียนเลือกใช้คำศัพท์จากความเคยชิน ด้านที่ 3 ผู้เรียนเลือกใช้จากความน่าจะเป็นทางความหมายของหน่วยคำ 2) ปัญหาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหาด้านผู้เรียนสูงสุด อันดับรองลงมา ได้แก่ ด้านครูผู้สอนภาษาจีน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการจัดการศึกษาตามลำดับ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกันของนักศึกษาไทย มีดังนี้คือ ด้านที่ 1 ด้านผู้เรียน พบว่า ควรเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการวิเคราะห์ความแตกต่างของคำศัพท์ แทนที่การท่องจำ และการแปล ด้านที่ 2 ด้านครูผู้สอน พบว่า ควรพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้คำกริยาภาษาจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกัน และมีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ ผู้เรียนอย่างถูกต้องแม่นยำ ด้านที่ 3 ด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า ควรส่งเสริมและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้านคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันให้หลากหลายและได้มาตรฐาน ด้านที่ 4 ด้านการจัดการศึกษา พบว่า ควรมีเนื้อหาและชั่วโมงเรียนรายวิชาภาษาจีนที่เพียงพอ อีกทั้งจำนวนผู้เรียนต่อชั้นเรียนไม่ควรมากจนเกินไป


Keywords


คำกริยาที่มีความหมายใกล้เคียงกัน; ภาษาจีน; การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาจีน. ประกาศ.

ศุภชัย แจ้งใจ. (2552). การวิเคราะห์ความแตกต่างของคำพ้องความภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย.

วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.15(6),1026-1036.

ณิชา สินธทียากร. (2549). การศึกษาคำภาษาจีนที่มีความหมายคล้ายคลึงกันและการออกแบบการเรียนการสอน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาภาษาจีน

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราวรรณ โทพล. (2533). การศึกษารูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษที่นักเรียนเป็นผู้เลือกเองในระดับ

มัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธิตินาฎ ดาลาด และอัญชลี ตุนา. (2554). สำรวจความต้องการสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปลาย สายศิลป์-ภาษาจีน โรงเรียนนารีนุกุล จังหวัดอุบลราชธานี.

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีน

ในประเทศไทย: ระดับประถม - มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนีย์ สอนตระกูล. (2535). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์สำหรับวิชา

ชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ชรินทร์ เพิ่มพูน. (2546). การพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาของจังหวัดฉะเชิงเทรา.

วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏราชนครินทร์.

สมชาย คำปลิว. (2549). การศึกษาบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา.

ยุพิน พิพิธกุล. (2539). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน

(ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

Population Reference Bureau. (2013). 2013 World Population Data Sheet. Washington DC: Centennial Group.

Internet World Stats Usage and Population Statistics. (2013). Top Ten Languages in the Internet 2013-in millions of users. Retrieved October 20, 2014, from http://www.internetworldstats.com/

stats7.htm.

Humphrey Tonkin. (2011). Language and The United Nations: A Preliminary Review. Léger.1(1), 2-5.

Robert Lado. (1957). Linguistics across Cultures. Ann Arbor : University of Michigan Press.

Theda. (2012). Error Analysis of Chinese Verb-Synonyms Acquisition by the Intermediate Level of Indonesian Students. Master Degree Teaching Chinese to Speakers of Other Language Zhong Shan University.

Lu Jianyi. (1984). Error Analysis International Language Teaching. Master Degree Teaching Chinese to Speakers of Other Language Zhong Shan University.

Zhao Xin and Li Ying. (2001, 2002). Analysis of Chinese Synonyms. Master Degree Teaching Chinese to Speakers of Other Language Yinan University.

Hu Liangjie. (2006). Analysis the difference of Chinese Noun-Synonyms. Master Degree Teaching Chinese to Speakers of Other Language Yunnan University.

J.B. Heaton. (1989). Writing English Language Tests. England: Longman Pub Group.

Liu Jin. (1997). Teaching Chinese Noun-Synonyms for foreign language student. Master Degree Teaching Chinese to Speakers of Other Language Zhongguo Renmin University.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.