การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความคิดเห็นต่อการสอนแบบตรงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ณัฐพร พลพิจิตร์

Abstract


การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยก่อน
และหลังใช้วิธีสอนแบบตรงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนโดยวิธีสอนแบบตรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 40 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน วิชาภาษาไทย โดยวิธีสอนแบบตรงจำนวนแผน 18 คาบแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ข้อสอบแบบปรนัยตัวเลือก 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้วิธีสอนแบบตรง 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ t–test for dependent sample โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยหลังใช้วิธีสอนแบบตรงของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรม การเรียนโดยวิธีสอนแบบตรงพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนในระดับมาก


Keywords


วิธีสอนแบบตรง; วิชาภาษาไทย

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชนิศา อภิชาตบุตร. (2554). การสอนโดยตรง (Direct Instruction). สาขาจิตวิทยาการศึกษา.

ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวาล แพรัตกุล. (2546). ความรู้และการรับรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรารถนา ศรีบุญเรอื ง. (2540). ผลของการพฒั นาทกั ษะการอา่ นเฉพาะ โดยวิธกี ารสอนทีมี่ต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีวิทยา 2

กรุงเทพมหานคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การสอนภาษาอังกฤษ ภาควิชาการศึกษา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปัญญา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ปริญญาการศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต

การวัดผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิญาณี พลเยี่ยม. (2552). ความสามารถด้านการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้รูปแบบการสอนแบบทางตรง. รายงานการศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุพรรณี ชื่นค้า. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ เจตคติ และทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้รถหน่วยคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่

(Computer Mobile Unit). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต พัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ayers, S.F., Housner, L.D., Gurvitch, R., Pritchard, T., Dell’Orso, M., Dietrich, S., Kim, H.Y., Pearson,

M. (2005). An examination of skill learning using direct instruction. The Physical Educator, 62(3), 136-144.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Models of teaching. Needham Heights, MA: Allyn & Bacon.

Rubina Kousar. (2010). The Effect of Direct Instruction Model On Intermediate Class Achievement And Attitudes Toward English Grammar. Journal of College Teaching & Learning – Febuary 2010 Volume7, Number 2.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.