ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ และความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 3) เปรียบเทียบความสามารถในการทำงานร่วมกัน ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนหนองกรดพิทยาคม อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 36 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 จำนวน 12 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
ประวัติศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความเที่ยง .89 และแบบประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกันจำนวน 21 ข้อ ซึ่งมีค่าความเที่ยง .65 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าไค-สแควร์ และการทดทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด ที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์
หลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2
มีความสามารถในการทำงานร่วมกันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Keywords


การจัดการเรียนแบบร่วมมือ; จิกซอว์; วิชาประวัติศาสตร์

Full Text:

PDF

References


จันทร์ฟอง รุ่งฤทธิ์ประภากร. (2553). ผลการสอนแบบสาธิตโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ II ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนและความสามารถในการประดิษฐ์ดอกไม้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนประวัติศาสตร์ ให้เด็กมีความสุข สนุกคิด. นนทบุรี :

สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

เป็นศูนย์กลาง : กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

(พิมพ์ครั้งที่ 14.). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธสักราช 2542. (2542, สิงหาคม19). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 7.

ระวิวรรณ ภาคพรต, มาลี โตสกุล, และเฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (บรรณาธิการ). (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครูแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2556). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 ฉบับที่ 5 ค่าทางสถิติระดับโรงเรียนแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2556, จากhttp://www.ontresult.nites.or.th/AnouncementWeb/school/frContentStatValueBySchool.aspx?mi=3&smi=2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมิน

คุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา

(แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ท พลัส.

________. (2556). คะแนนการทดสอบ O-NET ช่วงชั้นที่ 3 (ม. 3) จำนวน 8 กลุ่มสาระวิชาของสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานประจำปีการศึกษา 2555. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2556, จาก www.onesqa.

or.th/onesqa/th/download/index.php?DownloadGroupID=121.

สมจิตต์ เขียวเกษม. (2548). การศึกษาผลการสอนโดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง

การเรียนวิชาสังคมศึกษา และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สมใจ เพ็ชร์สุกใส. (2548). การศึกษาผลการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ II ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานร่วมกัน

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เสาวคนธ์ บรรดาศักดิ์. (2548). ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ที่มีต่อทักษะการทำงาน ร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยสมัยสงครามโลกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม จังหวัดปทุมธานี.

การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Johnson, D W., & R T. (1999). Making Cooperative Learnind Work. Retrieved from http://www.jstor.org/stable/1477225.

Slavin, R.E. (1987). “Cooperative Learning and Cooperative School.” Educational Leadership 45 : 7 - 13.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.