แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41

ชัยวุฒิ สังข์ขาว

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา และเสนอแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือใน
สถานศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 291 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนลูกเสือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้ค่าสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล 2) เสนอทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา โดยการจัดประชุมกระบวนการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา มีดังนี้ 1) การจัดตั้งกลุ่มหรือกอง คือ กำกับติดตาม ประชุมชี้แจงนโยบายการจัดกิจกรรมลูกเสือ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ด้านลูกเสือ จัดทำโครงสร้างการบริหาร จัดผู้กำกับระดับวูดแบดจ์ให้ครบทุกกอง และส่งเสริมให้เข้าฝึกอบรมเพิ่มคุณวุฒิทางลูกเสือ 2) การบังคับบัญชาลูกเสือ คือ ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ประกาศเกียรติคุณ พิจารณาความดีความชอบประจำปี ในงานลูกเสือ ให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมทางลูกเสือ วางแผน สนับสนุนงบประมาณ พัฒนาบุคลากรทางด้านลูกเสือ 3) การเรียนการสอนวิชาลูกเสือ คือ ส่งเสริมให้ครูเข้าใจหลักสูตรลูกเสือจัดทำแผนฝึกอบรมลูกเสือแบบบูรณาการ วางแผนเลือกวิชาพิเศษลูกเสือ และสร้างความตระหนักให้ลูกเสือเห็นคุณค่า และประโยชน์ของการจัดกิจกรรมลูกเสือ 4) การเงินลูกเสือ คือ จัดทำแผน กำหนดกรอบงบประมาณ จัดประชุมรณรงค์ทุนภายนอกแก่ผู้รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ และประชุมผู้จัดทำภารกิจ
การเงินและทรัพย์สิน สร้างความตระหนักให้ผู้รับผิดชอบ และจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องตามระเบียบ
5) การรายงานกิจกรรมลูกเสือ คือ มอบหมายให้มีผู้สังเกต การจัดกิจกรรมประจำสัปดาห์ ประชุม กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน จัดให้มีห้องลูกเสือ เว็บไซต์ลูกเสือโรงเรียน จดหมายข่าวถึงผู้ปกครอง จัดทำสรุปทุกครั้งที่จัดกิจกรรม และรายงานประจำปีตามระเบียบ


Keywords


แนวทางการบริหาร; กิจกรรมลูกเสือ; การสอนวิชาลูกเสือ

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง

ณรงค์ จันทะคัด. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ของโรงเรียนสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญผลการพิมพ์.

บุญมี ปานแดง. (2553). แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พรทิพย์พา คล้ายกมล. (2554). แนวทางพัฒนาการบริหารงานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, สิงหาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 34ก, หน้า 1.

พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551. (2551, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนที่ 42ก, หน้า 92.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. สุราษฎร์ธานี: เลิศไชย.

โพเอ็ลล์, บ., ลอร์ด. (2545). การลูกเสือสำหรับเด็กชาย (SCOUTING FOR BOY). (อภัย จันทวิมล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

วรนาฎ สิทธิฤทธิ์. (2550). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สมชาย สุขดิษฐ์. ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและจัดการศึกษา. (2556, ธันวาคม 19). สัมภาษณ์.

สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน. (2551ก). รายงานผลการประเมินผลการจัดงานชุมนุมลูกเสือสันติภาพ 4 ภาค. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

________. (2551ข). เกณฑ์การประเมินคุณภาพงานลูกเสือภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

________. (2552). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

________. (2554). สารานุกรมลูกเสือ เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2553). พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (2556ก). ข้อมูลพื้นฐานสถานศึกษาในสังกัด สพม. 41.

สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 28 2556, จาก http://www.secondary41.go.th/data123.htm

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (2556ข). รายงานสรุปผลการประเมินภายนอกของโรงเรียนรอบ 3 ของสถานศึกษาสังกัด จาก ส.ม.ศ.. กำแพงเพชร: ผู้แต่ง.

________. (2557). หนังสือราชการที่ ศธ 04271/2761 เรื่องการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

________. (2556). ผลการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่นและชมเชย. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2556, จาก http://sportact.obec.go.th/

________. (2557). หนังสือราชการที่ ศธ 04188/ว751 เรื่องการคัดเลือกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่จัดกิจกรรมลูกเสือดีเด่น ประจำปีงบประมาณ 2557.

สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ. (2538). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ (ฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สินธุ์ รัตนปัญญา. (2550). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุภาพร จตุรภัทร, และเฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก. (2557). แนวทางการพัฒนาการลูกเสือไทยเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี. วารสารครุศาสตร์, 42(2), หน้า 57-71.

อนุพงศ์ โตเจริญ. (2554). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารกิจการลูกเสือในโรงเรียนเขตอำเภอวังนํ้าเย็น จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.