การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่องวิวัฒนาการของสื่อภาพยนตร์ วิชาหลักการภาพยนตร์และโทรทัศน์

ชัยวัฒน์ ยะปัญญา

Abstract


วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่องวิวัฒนาการ
ของสื่อภาพยนตร์ วิชาการหลักการภาพยนตร์และโทรทัศน์ 2) เพื่อวัดประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์
แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่องวิวัฒนาการของสื่อภาพยนตร์ วิชาหลักการภาพยนตร์และโทรทัศน์มีประสิทธิภาพ
อยู่ในเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่องวิวัฒนาการของสื่อภาพยนตร์ วิชาหลักการภาพยนตร์และโทรทัศน์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสื่อดิจิทัล คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัย
เทคโนโลยีสยาม ตัวอย่างรวม 20 คน โดยคัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์เรื่องวิวัฒนาการของสื่อภาพยนตร์ วิชา
หลักการภาพยนตร์และโทรทัศน์ มีประสิทธิภาพ 80.33/82.20 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าบทเรียนออนไลน์แบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานในการเรียนการสอนได้


Keywords


บทเรียนออนไลน์; ปฏิสัมพันธ์; วิวัฒนาการของสื่อภาพยนตร์

Full Text:

PDF

References


กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โพรดักส์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

นวรัตน์ สารภี. ( 2554 ). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกิจกรรมเสริมหลักสูตร. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา. (2553). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดีอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 5,2556,จาก http://human.bsru.ac.th/ /search/sites/default/files /พนอเนื่อง_การพัฒนาบทเรียน.pdf.

พิพิษณ์ สิทธิศักดิ์. (2553). ความหมายและหลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 5, 2556, จาก https://filmv.wordpress.com/unit-1/.

พิเชษฐ์ เพียรเจริญ. (2547). พัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. หลักสูตรและการสอน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุทธศักดิ์ ญานะ. (2555). ชุดกิจกรรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

Langdon, G. (1973). Interactive Instructional Design. New Jersey : Educational Technology Publications, Inc.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.