การเปรียบเทียบการใช้โปรแกรม GSP กับโปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชยุตม์ ล้อธีรพันธ์

Abstract


การเปรียบเทียบการใช้โปรแกรม GSP กับโปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ของกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP กับกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ของกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาลมิตรสัมพนั ธ์วิทยา อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแกว้ จำนวน 2 ห้องเรียน
รวม 72 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยโปรแกรม GSP และโปรแกรม GeoGebra สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ(Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม
GeoGebra ประกอบการเรียนรู้ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียน ของกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP กับกลุ่มที่ใช้
โปรแกรม GeoGebra ประกอบการเรียนรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ไม่แตกต่างกัน
4. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ของกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GSP และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม GeoGebra
ประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมและ
รายด้านอยู่ในระดับมาก


Keywords


การเปรียบเทียบการใช้โปรแกรม GSP กับโปรแกรม GeoGebra; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.

เรณุวัฒน์ พงษ์อุทธา. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง พาราโบลา เจตคติ

ต่อการเรียนวิชา คณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นสื่อกับการจัด

กิจกรรมตามปกติ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชรสันต์ อินธิสาร. (2547). ผลของการพัฒนามโนทัศน์ทางเรขาคณิตและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรรณวิภา สุทธเกียรติ. (2542). การพัฒนาบทเรียนเรขาคณิตที่ใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, มัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สุจิรา มุสิกะเจริญ. (2542). การเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเส้นขนานและความคล้ายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เรียน โดยใช้และไม่ใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ทางเรขาคณิต. กรุงเทพฯ : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

อรรถศาสน์ นิมิตรพันธ์. (2542). ผลของการใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ประกอบกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 4 ขั้นที่มีต่อความสามารถในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความเท่ากันทุกประการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lester, M. L. (2996). “The Effect of the Geometer’s Sketchpad Software on Achievement of Geometric,” Dissertation Abstracts International. 57 : 2343-A, 1996.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.