ความตระหนักเกี่ยวกับการรับบริการด้านสุขภาพจิตของนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชนิตา รุ่งเรือง

Abstract


การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักเกี่ยวกับการรับบริการด้านสุขภาพจิต
ในนิสิตระดับปริญญาตรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก
มีผู้ให้ข้อมูลเป็นนิสิต จำนวนทั้งสิ้น 24 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่ยังไม่เกิดความตระหนักในการรับบริการด้านสุขภาพจิต โดยยังขาดความรู้
เกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพจิตที่ชัดเจน เช่น การบริการ สถานที่ และเวลาทำการ อีกทั้งบางส่วนมีความรู้สึก
และอารมณ์ไปในทางลบต่อการรับบริการและผู้ที่เคยรับบริการด้านสุขภาพจิต อีกทั้งเมื่อเกิดปัญหา
ด้านสุขภาพจิตนิสิตมักเลือกที่จะปรึกษาคนใกล้ชิดหรือสืบค้นหาข้อมูลและวิธีการแก้ไขปัญหาผ่านทาง
สื่อสังคมออนไลน์มากกว่าการเข้ารับบริการด้านสุขภาพจิตโดยตรง


Keywords


ความตระหนัก; บริการด้านสุขภาพจิต; นิสิตระดับปริญญาตรี

Full Text:

PDF

References


การุณย์ ประทุม, อุบล จิบสมานบุญ และพันธ์วิรา แสงทอง. (2549). การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการจัดการความรู้ของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชนก

กระทรวงสาธารณสุข. ชลบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชลบุรี.

กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. (2546). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กรมสุขภาพจิต. หน่วยงาน/โครงการในสังกัด. เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2556 : จาก http://www.dmh.go.th/

links/links.asp?catid=18

_______. สำรวจความสุข (ตอนที่ ๒). เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2556 : จาก http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1103

จิรายุ รวมทรัพย์. (2552). ความรู้ ความตระหนักและการปฏิบัติด้านอาหารและโภชนาการของวัยรุ่นในอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนคร.

ณัฐยา พัดทั่ว. (2549). การสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลป่าไหน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์. (2555). จิตวิทยาในลีลาชีวิตยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม :

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาโนช หล่อตระกูลและคณะ. (2555). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : บียอนด์ เอนเอร์ไพรซ์.

ยุบล ธงวิชัย. (2552). ความตระหนักและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสังคม (STS). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยงยุทธ ธนิทกุล. (2546). การมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพประชาชนของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Andrew J Davidson. (2007). Awareness, dreaming and unconscious memory formation during

anaesthesia in children. Best practice & research. Clinical anaesthesiology. 21(3). 415-29.

Debra Rickwood, Frank P. Deane, Coralie J. Wilson, and Joseph Ciarrochi. (2005). Young people’s

help-seeking for mental health problems. Australian e-Journal for the Advancement of Mental Health (AeJAMH), Volume 4, Issue 3 (Supplement),

David L. Vogel, Nathaniel G. Wade, and Ashley H. Hackler. (2007). Perceived Public Stigma and the

Willingness to Seek Counseling: The Mediating Roles of Self-Stigma and Attitudes Toward Counseling. Journal of Counseling Psychology Copyright 2007 by the American Psychological Association , Vol. 54, No. 1, 40–50

Daniel Eisenberg, Justin Hunt, and Nicole Speer. (2012). Help seeking for mental health on college campuses: review of evidence and next steps for research and practice. Harv Rev Psychiatry. Jul-Aug;20(4):222-32.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.