การประเมินหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชนากานต์ ฮึกหาญ

Abstract


การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จึงนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของสถานศึกษาในทุกระดับ ผู้วิจัยจึง
สนใจศึกษาเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในประเด็นต่อไปนี้ การประเมินบริบท การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต การประเมินด้านผลกระทบการประเมินด้านประสิทธิผล การประเมินด้านความยั่งยืน การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการ และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียน จำนวน 57 คน สุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินบริบท พบว่า หลักสูตรสถานศึกษา ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจของ
สถานศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้
มีความเหมาะสม
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า คุณสมบัติของผู้บริหาร คุณสมบัติของครู คุณสมบัติของ
นักเรียน มีความเหมาะสม
3. การประเมินกระบวนการ พบว่า โครงสร้างหลักสูตรและเวลาเรียน ไม่มีความเหมาะสม
ควรปรับลดในส่วนของเนื้อหาบางรายวิชาให้น้อยลง แต่การวัดผล ประเมินผล มีความเหมาะสม
4. การประเมินผลผลิต พบว่า ผลการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนที่สำเร็จการศึกษา
มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความเหมาะสมกับสภาพผู้เรียนและธรรมชาติของวิชา
5. ผลการวิเคราะห์การประเมินผลกระทบ พบว่า ความมีชื่อเสียงของโรงเรียน และกิจกรรม
โครงการที่โรงเรียนจัดขึ้นมีผลสะท้อนให้ โรงเรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ
6. การประเมินประสิทธิผล พบว่า ผลของการใช้ทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ ของการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 มีความเหมาะสม
7. การประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า ความรู้ความสามารถของผู้เรียน มีความเหมาะสม

8. การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ พบว่า ผลที่เกิดกับผู้เรียนในการถ่ายทอดความรู้
มีความเหมาะสม


Keywords


การประเมินหลักสูตร; โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Full Text:

PDF

References


เจนจิรา ชมชื่นใจ. (2552). การประเมินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านพร้าวหนุ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงนภัส บุญเหลือ. (2553). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โรงเรียนประทุมอนุสรณ์ โดยใช้ CIPP Model. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปิยะ ศิลากุล. (2550). การประเมินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูวิชาการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

มาเรียม นิลพันธุ์ . (2553). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุจิร์ ภู่สาระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตร:ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. ค้นเมื่อ มีนาคม 9, 2556, จาก http://www.rattanabb.com/html.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โสภา ชมชื่น. (2548). การประเมินหลักสูตรโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนบ้านท่าข้าม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.