การพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การหาร สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณค่าทางวิชาการของหนังสือ อ่านประกอบ
เรื่อง การหาร สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 จำนวน 55 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การหาร สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา แบบตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิชาการของหนังสืออ่านประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านคณิตศาสตร์ ที่มีความเชื่อมั่น 0.74 แบบสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 แบบสนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และ แบบประเมินคุณค่าทางวิชาการ ที่มีความเชื่อมั่น 0.77 เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสนทนากลุ่มและการประเมินคุณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออ่านประกอบ เรื่อง การหาร สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา
ที่เรียบเรียงตามระบบคณิตศาสตร์และสอดแทรกแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งได้พัฒนา และ
ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ สามารถสื่อสารกับครูผู้สอน เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน มีการจัดทำรูปเล่มที่ดี และคุณค่าทางวิชาการอยู่ในระดับดีขึ้นไปซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่วางไว้ โดยระดับคุณค่าทางวิชาการของหนังสืออ่านประกอบที่
ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีมาก และที่ประเมินโดยครูผู้สอนอยู่ในระดับดี ทั้งนี้
ระดับคุณค่าทางวิชาการที่ประเมินโดยครูผู้สอน ที่เข้าร่วมกับไม่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มไม่แตกต่างกัน
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาหนังสือ.
กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
กรรณิการ์ ปานนุช. (2550). รายงานผลการพัฒนาคู่มือครูประกอบการสอนทักษะการหารเชิงประจักษ์ชั้นระถมศึกษาปีที่ 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.
คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ.
ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร. (2551). เกณฑ์การประเมินตำรา/หนังสือ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2557, จาก http://share.psu.ac.th/blog/fnr-devolop/7331.
ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2535). พฤติกรรมการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูธนบุรี.
ยุพิน พิพิธกุล. (2539). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
โยธิน แสวงดี. (2527). เทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ : การสนทนากลุ่ม. (เอกสาร อัดสำเนา) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
วีณา วโรตมะวิชญะ. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่ลงมือปฏิบัติ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์. (2557). แบบประเมินคุณภาพหนังสือ. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2557, จาก http://personnel.nida.ac.th/main/images/HR_Thai/form/9/9.10.pdf.
สำเริง สุวรรณพงค์. (2556). ทำเนียบครูผู้รับผิดชอบงานข้อมูลนักเรียนโรงเรียนในสังกัด ปีการศึกษา 2556. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.
Refbacks
- There are currently no refbacks.