การเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษและความมั่นใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้กลวิธีด้านปัญญาและกลวิธีทดแทน

จิตตาภัทร์ บุญมี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูด ด้วยกลวิธี
ด้านปัญญาและกลวิธีทดแทน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดด้วยกลวิธีด้านปัญญาและกลวิธีทดแทน (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีด้านปัญญาและกลวิธีทดแทน (4) เพื่อเปรียบเทียบความมั่นใจในตนเอง ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีด้านปัญญาและกลวิธีทดแทน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนบัวขาว จำนวน 50 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีด้านปัญญา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนบัวขาว จำนวน 52 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีทดแทน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีด้านปัญญา จำนวน 8 แผน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีทดแทน จำนวน 8 แผน (2) แบบทดสอบทักษะการพูด ชนิดกำหนดสถานการณ์และให้นักเรียนจับคู่สนทนา จำนวน 8 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 และ (3) แบบสอบถามความมั่นใจในตนเอง แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.40 ถึง 0.82 และมีค่าความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t – test independent sample
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดด้วยกลวิธีด้านปัญญาและกลวิธีทดแทน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 72.85/72.73 และ 70.51/70.25 ตามลำดับ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดด้วยกลวิธีด้านปัญญาและกลวิธีทดแทน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5518 และ 0.4515 ตามลำดับ
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดด้วย
กลวิธีด้านปัญญามีทักษะทางการพูดภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกลวิธีทดแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีด้านปัญญา มีความมั่นใจ
ในตนเองสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกลวิธีทดแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลวิธีด้านปัญญา สามารถพัฒนาทักษะการพูดและความมั่นใจในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สามารถนำไปพัฒนาทักษะอื่น ๆ ได้


Keywords


กลวิธีด้านปัญญา; กลวิธีทดแทน

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.

กลุ่มงานวัดผล โรงเรียนบัวขาว. (2554). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำปีการศึกษา 2554.

ฐิติรัตน์ สมศิริ. (2550). การใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการพูดคล่องแคล่วของนักเรียน

ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2549). คู่มือการสอนภาษาอังกฤษ. มหาสารคาม.

เสาวภา ฉายะบุระกุล. (2546). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อรทัย รัตนสมัย. (2553). ผลการจัดกิจกรรมที่ใช้กลวิธีการเรียนรู้ด้านปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Oxford, Rebecca L. (1990). Language Learning Strategies : What Every Teacher Should Know. New York : Newberry House Publisher.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.