การพัฒนาความสามารถภาษาจีนเพื่อการสื่อสารโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

จันทนา บรรจงดิษฐ์

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2 )กำหนดเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองกลุ่มปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มปกติ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบัวขาวสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน จากนักเรียนที่เรียนวิชาภาษาจีนกลางเป็นกลุ่มปกติ แล้วจับสลากเพื่อเลือกเป็นกลุ่มทดลองที่สอนโดยกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการพัฒนาความสามารถภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร แผนการจัดการเรียน ประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 5 แผน แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาจีน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร มีประสิทธิภาพเท่ากับ
81.41 /84.22
2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร กลุ่มทดลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความสามารถในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มปกติหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
4. ความสามารถในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มทดลอง
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


Keywords


หนังสืออิเล็กทรอนิกส์; ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

Full Text:

PDF

References


กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2550). รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิต คณะมนูษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์.

กรชกรชวติ. (2544). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา

จังหวัดกาฬสินธ์.วิทยานิพนธ์ กศม. การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม :

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรมวิชาการ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. คู่มือการใช้งาน G-Pad Tablet PC แบบย่อ. (2554). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก :

________. (2543). คู่มือการประเมินผลการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา,2543.

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). แท็บเล็ต (Tablet). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.mict.go.th/ewt_news.phpnid=5282&filename=index. (สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2555).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กาญจนา อนุรักษ์รัศมี. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน เรื่อง Myself ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราศีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1. วิทยานิพนธ์. ศศ.ม. หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กานดา เวียงบาล. (2554). การพัฒนาชุดการออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์จากรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของ British council. วิทยานิพนธ์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2528). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโพรดักส์.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2528). “มารู้จักเพลโตกันเถอะ” ประชาการศึกษา. 35 : 8-15; เมษายน, 2528.

ซูน เลย. (2550). สภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับชั่วงชั้นที่ 3-4

จังหวัดนครปฐม.

ดิเรก ธีระภูธร. (2550). การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา. http://www.edu.nu.ac.th/wbi/366514/index.htm.

ตวงแสง ณ นคร. (2542). การใช้สื่อการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning :หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2540). การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ :

ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทักษิณา สวนานนท์. (2530). คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การค้าคุรุสภา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.