การเปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาระหว่างสถานศึกษาในสังกัดคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

กานต์ อัมพานนท์

Abstract


การวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาระหว่างสถานศึกษาในสังกัด
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : สาระการเรียน
รู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบความพร้อมในการจัด
การศึกษาสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ของสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน ได้แก่ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำ�นวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 860 คน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถาม คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า :
1) ด้านบริบท ได้แก่ ความพร้อมเกี่ยวกับสภาพทั่วไป และนโยบายของโรงเรียน เมื่อประเมินและ
เปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน
2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ ความพร้อมของครูผู้สอน สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และ
งบประมาณ เมื่อประเมินและเปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน
3) ด้านกระบวนการ ได้แก่ ความพร้อมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล
และการมีส่วนร่วมของชุมชน เมื่อประเมินและเปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพ และเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน
4) ด้านผลผลิต ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา และ
ความพึงพอใจของผู้ใช้ เมื่อประเมินและเปรียบเทียบความพร้อมในการจัดการศึกษาสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

5) ส่วนการสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียน สรุปผลการวิเคราะห์
ได้ดังนี้ 1) ครูต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) ครูต้องเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการฝึกทักษะให้เพียงพอ 3) ครูควรจัดบรรยากาศในห้องฝึกงานที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
4) เมื่อนักเรียนมีปัญหาในการเรียน ครูควรใช้โครงงานเป็นเครื่องช่วยในการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน
5) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นฝึกทักษะ 6) มีสื่อที่เหมาะสมเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 7) ครูจัดบรรยากาศการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีกิจกรรมที่หลากหลาย 8) มีกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนเรียนตามความสนใจของผู้เรียน 9) มีการสอนที่สามารถเชื่อมโยง หรือบูรณาการกับงานอาชีพ 10) ครูผู้สอนควรมีการประเมินความสามารถด้านทักษะของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง


Keywords


การเปรียบเทียบ; การจัดการศึกษา; สาระการเรียนรู้

Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ประวัติการปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : กรมศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กมล รอดคล้าย. (2537). การวิเคราะห์ระบบการจัดการประถมศึกษาของหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน

ในกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2540). รายงานการวิจัย เรื่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการศึกษา.

กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานการติดตามการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วัลลภา โล่ห์สุวรรณ. (2537). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการรับบริการตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา เขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีวิไล บุนยตีรณะ. (2531). พัฒนาการของระบบบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาน อัศวภูมิ. (2537). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด.

วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Stufflebeam, Daniel L. (1969). Education Evaluation : Theory and Practice. Belmont California : Wadssorth Company.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.