การประเมินโครงการรักการอ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์

กาญจนา ชูสกุล

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการรักการอ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม
สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ ประเมินในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครู จำนวน 39 คน นักเรียนมัธยมจำนวน 234 คน ผู้ปกครอง 234 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 507 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)ผลการประเมิน มีดังนี้
ผลการประเมินในภาพรวมต่อโครงการรักการอ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัด
เทศบาลนครขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารและครู ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงสุด เรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการด้านผลผลิต ตามลำดับ
ผลการประเมินในภาพรวมต่อโครงการรักการอ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัด
เทศบาลนครขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ ฉบับที่ 2 สำหรับนักเรียน ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน คือ
ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงสุด เรียงจากมากไปน้อย คือด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตตามลำดับ
ผลการประเมินในภาพรวมต่อโครงการรักการอ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ ฉบับที่ 3 สำหรับผู้ปกครอง ในภาพรวมด้านผลผลิต
ผลการประเมินในภาพรวมต่อโครงการรักการอ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัด
เทศบาลนครขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ จากแบบประเมินทั้ง 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ระดับมาก


Full Text:

PDF

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

คณินนุช พิจิตรนรการ. (2550). การประเมินโครงการรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนพรประสาทวิทยา. สารนิพนธ์ ศษ.ม. (บริหารการศึกษา) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นารีรัตน์ พงษ์จรูญ. (2551). การประเมินโครงการรักการอ่านโรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา : Educational research. (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรรณิภา ขัติรัตน์. (2550). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนทรงวิทยาจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

แววตา พฤกษา. (2550). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการโครงการและประเมินโครงการ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร พ.ศ. 2554 :

กลุ่มบูรณาการข้อมูลสถิติ สำนักสถิติพยากรณ์.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. (1970). Determining Sampl Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.