การพัฒนานิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา โดยการเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการโฆษณา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความต้องการเรียนรู้ผ่านสื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์พกพาโดยการเรียนรู้ร่วมกันเรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา
การโฆษณา 2) เพื่อพัฒนาสื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาโดยการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อง
คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีการสาขาโฆษณา 3) เพื่อหาคุณภาพของสื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาที่สร้างขึ้น 4) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนจากสื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาที่สร้างขึ้น 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้นิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาที่สร้างขึ้น ประชากรได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 197 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือในการวิจัย 1) แบบสำรวจความต้องการเรียนรู้ผ่านสื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการโฆษณา 2) สื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา โดยการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการโฆษณา 3) แบบประเมินคุณภาพของสื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาที่สร้างขึ้น 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน5) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่าความต้องการใช้สื่อนิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาที่สร้างขึ้นของผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความต้องการ ทั้ง 4 ด้าน คือด้านการใช้สื่อนิตยสารดิจิทัล ด้านการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา ด้านการเรียนรู้ร่วมกัน และด้านเนื้อหาเรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก ส่วนมากมีอายุ 20-21 ปี เคยใช้นิตยสารดิจิทัล และมีความต้องการเรียนรู้แบบกลุ่มผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ด้าน ด้านละ 3 ท่านรวมทั้งหมด 9 ท่าน แบ่งเป็น ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.98 อยู่ในระดับดีมาก ด้านสื่อมัลติมีเดียมีค่าเฉลี่ย 4.97 อยู่ในระดับดีมาก และด้านการเรียนรู้
ร่วมกัน มีค่าเฉลี่ย 4.9 อยู่ในระดับดีมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย 4.52 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด จึงสรุปได้ว่า การพัฒนานิตยสารดิจิทัลบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา
โดยการเรียนรู้ร่วมกันเรื่องคอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการโฆษณา มีคุณภาพดีสามารถนำไปใช้ได้จริง
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ธรรมยุทธิ์ จันทร์ทิพย์ และตวงลาภ เปี่ยมอยู่สุข. (ม.ป.ป). พัฒนาการและแนวโน้มของนิตยสารในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ กันยายน 14, 2557,
จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_12/pdf/aw015.pdf
พีระ วงษ์ที. (2556). การสร้างสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนท์บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา วิชากราฟิกขั้นสูง และแอนิเมชันเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ไพศาล โมลิสกุลมงคล. (2550). คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ใช้ OpenGL. ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเจริญการพิมพ์.
ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (ม.ป.ป). ดิจิทัล แมกกาซีน ตัวหนังสือมีชีวิต : ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
และนักอ่าน. สืบค้นเมื่อ กันยายน 14, 2557, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_
journal/oct_dec_12/pdf/aw04.pdf
สมหมาย มณีโชติ. (2554). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สรัญญา เชื้อทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนเสมือนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนิชา แสงกล้า. (2555). การสร้างหนังสือดิจิทัลแบบมีปฎิสัมพันธ์บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่วิชาวัจนเพื่อการสื่อสารภาษาไทย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมหาบัณฑิต
สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Bersin, J. (2004). The blended learning book: Bestpractices, proven methodologies, and lessons learned. San Francisco: Pfeiffer.
Refbacks
- There are currently no refbacks.