ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลกระทบด้านการเรียนในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วชรวรพงษ์ วงษ์พรมมา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่มีชีวสังคมต่างกัน 2) เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของปัจจัยทางจิตและสังคม ที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่มีชีวสังคมต่างกันและ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับผลกระทบด้านการเรียนในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน จำนวน 470 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม เป็น
ชนิดเลือกตอบแบบมาตรประมาณค่า มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า อยู่ระหว่าง 0.82 ถึง 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจตคติเชิงบวกต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่อง ดื่ม
แอลกอฮอล์กับการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกลุ่มย่อยอายุ 16 ปีและอายุ 17 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และประเภทของโรงเรียนที่มีโครงการที่เน้นการป้องกัน/ลดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับการได้รับตัวแบบ ที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มย่อยเพศหญิง 3) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมกับการเข้าถึงสื่อโฆษณาแอลกอฮอล์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ทั้งในกลุ่มรวมและในกลุ่มย่อย 4) ตัวแปรสำคัญที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ความคาดหวังผลจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนและการเข้าถึงสื่อโฆษณา มีอำนาจทำนายร้อยละ 31.0 และ 5) พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับผลกระทบด้านการเรียน ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Keywords


พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์; ผลกระทบด้านการเรียน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.