ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

รัฐชาติ พรรษา

Abstract


ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย อายุเฉลี่ย 40 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รายได้เฉลี่ย 158,209.87 บาทต่อปี มีลักษณะการถือครองที่ดินเป็นของตนเอง โดยมีพื้นที่เฉลี่ย 4 ไร่ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกยางพาราจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง เฉลี่ย 50 ครั้งต่อปี มีแหล่งเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และพันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูกคือ พันธุ์ RRIM 600 และ พันธุ์ RRIT 251
การวิจัยการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรมีระดับการตัดสินใจปลูกยางพารา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 โดยสามารถแบ่งการตัดสินใจได้ดังนี้ การตัดสินใจปลูกยางพาราด้านกายภาพ อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.09 การตัดสินใจปลูกยางพาราด้านเศรษฐกิจระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.02 การตัดสินใจปลูกยางพาราด้านสังคม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.03 การตัดสินใจปลูกยางพาราด้านเทคนิคอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.12
การวิเคราะห์การถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่มีต่อการตัดสินใจปลูกยางพารา
ของเกษตรกรด้านภาพรวม พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ สถานภาพจำนวนแรงงานในครัวเรือน และการรับข้อมูลข่าวสารด้านกายภาพมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสคัญ คือ เพศ จำนวนแรงงานในครัวเรือน และการรับข้อมูลข่าวสารการปลูกยางพารา ด้านการเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ คือ เพศ สถานภาพแหล่งเงินกู้ และการรับข้อมูลข่าวสาร ด้านสังคมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ คือ สถานภาพ จำนวนแรงงานในครัวเรือน และการรับข้อมูลข่าวสาร ด้านเทคนิคมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ คือ เพศ สถานภาพ ประสบการณ์ปลูกยางพารา และการรับข้อมูลข่าวสาร


Keywords


การตัดสินใจ; ยางพารา; การวิเคราะห์การถดถอย

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.