เหมาะสมหรือไม่กับการลงโทษผู้ที่ไม่ทำอะไรก็เป็นความผิดอาญาในทุกกรณี

จตุรงค์ เพิ่มรุ่งเรือง

Abstract


บทความเรื่องนี้เกี่ยวเนื่องกับรายงานการวิจัยเรื่องปัญหาสืบเนื่องจากการเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำศึกษากรณีผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำของกรมราชทัณฑ์ กล่าวคือจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำได้นั้นจะต้องมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นเสียก่อน เพราะความผิดในทางอาญาเท่านั้นที่มีโทษจำคุก บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักกฎหมาย คงเข้าใจได้ว่าบุคคลจะกระทำความผิดอาญาได้ก็ต่อเมื่อกระทำการซึ่งเป็นความผิดอาญาที่กฎหมายบัญญัติและบังคับใช้ไว้ คำว่า “กระทำ” ตามมาตรา 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ คือ การกระทำตามความของกฎหมายอาญา ซึ่งหมายความถึง การเคลื่อนไหวร่างกายหรือการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
โดยรู้สำนึก กล่าวคืออยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ “โดยรู้สำนึก” หรือ “อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ” การกระทำที่จะเป็นความผิดได้นั้น น่าจะเป็นการกระทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกายเท่านั้น ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย จะเป็นการกระทำได้อย่างไร แต่แท้จริงแล้วการไม่เคลื่อนไหวร่างกายนั้นก็ถือเป็นการกระทำตามความของกฎหมายอาญาด้วย นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายแล้ว การกระทำความผิดร่วมกัน ตั้งแต่สองคนขึ้นไปก็มีกรณีที่กฎหมายถือว่า บุคคลที่อยู่เฉยๆ ไม่ได้ลงมือกระทำการที่ถือว่าเป็นความผิดอยู่
ในตัวเองก็เป็นความผิดได้เช่นกัน ขอเพียงแต่บุคคลนั้นรู้หรือศาลเชื่อว่าควรจะได้รู้ว่าการกระทำของตนเองนั้น มีการแบ่งหน้าที่กันทำกับบุคคลที่ลงมือกระทำความผิด เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่จะกลายเป็นการกระทำความในกฎหมายอาญาได้


Keywords


เหมาะสม; ไม่กระทำ ความผิดกฎหมายอาญา

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.