รูปแบบการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ของผู้ประกอบการร้านค้าตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

อมรรัตน์ ช่างฉาย

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมใน การจัดการขยะมูลฝอยของผู้ประกอบการร้านค้าตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของการจัดการขยะมูลฝอยของตลาดโรงเกลือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย ผู้ประกอบการร้านค้าและลูกค้าโดยใช้แบบการสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาคู่มือการอบรมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการสร้างเครื่องมือประเมินผลการอบรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ร่วมสร้างเครื่องมือ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของเครื่องมือ ระยะที่ 3 การทดลองใช้คู่มือ และการหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการอบรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า 25 คน จำแนกตามประเภทสินค้า 5 ประเภท ๆ ละ 5 คน ได้มาโดยการอาสาสมัครและเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 4 การศึกษาผลการใช้คู่มือการอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 45 คน จากกลุ่มประเภทสินค้า 5 ประเภท ๆ ละ 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบอาสาสมัครและเจาะจงใช้เวลาอบรม 3 วัน เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วย คู่มือการอบรม แบบวัดความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย แบบวัดวัดเจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Paired t-test และ F-test (Two-way MANCOVA และ ANCOVA)
ผลการศึกษาพบว่า
ผู้ประกอบการร้านค้าโดยรวม และจำแนกตามเพศ และระดับการศึกษาหลังการอบรมมีความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูงมาก มีเจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีพฤติกรรมการร่วมจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับปฏิบัติมากถึงมากที่สุด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) นอกจากที่ผู้ประกอบการร้านค้าที่มีเพศต่างกัน หรือมีระดับการศึกษาต่างกัน หลังการอบรมมีความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกัน (p>.05) และไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับระดับการศึกษา


Keywords


กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม; ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย; เจตคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย

Full Text:

PDF

References


นเรศ ม่วงรุ่ง. (2545). การจัดการแยกขยะมูลฝอยในชุมชน : กรณีศึกษา โรงเรียนวัดนาวงตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.

รุจิรา ยะนะโชติ. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการคัดแยกขยะ : กรณีศึกษาในเขตเทศบาล ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1601501). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วินัย วีระวัฒนานนท์. (2546). สิ่งแวดล้อมศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เวชมนต์ แสนโคตร. (2550). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบมีส่วนร่วม ในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ ส.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภศักดิ์ เมืองพรหม. (2551). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมการจัดการมูลฝอยในชนบทในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ. (2556). การส่งเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ มกราคม 5, 2556, จาก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/7775.

Schwartz N E. (1974). Nutrition Knowledge Attitude and Practices of Height School Graduates. Journal of the American Dietetic Association. 66(1), 28-31.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.