การปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงที่มือ ของคนงานในโรงงานผลิตและประกอบชุดสายไฟในรถยนต์แห่งหนึ่ง ใน จ .ระยอง

สุพร มีเกียรติกุลธร

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงที่มือจากการทำงานของคนงานในโรงงานผลิต
และประกอบชุดสายไฟ โดยใช้หลักการทางด้านการยศาสต์แบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
ได้แก่ แบบประเมิน ACGIH of HAL และแบบประเมิน Strain Index (SI) ในการวัดผลก่อนและหลังจากการปรับปรุงสภาพงานของคนงานตามหลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเฉพาะเจาะจงตามเงื่อนไขทีกำหนด ได้จำนวน 24 คน ที่มีระยะเวลาการทำงานในแผนกประกอบ
ชุดสายไฟมากกว่า 1 เดือนไม่มีประวัติการบาดเจ็บของมือและไม่มีประวัติการประสบอันตรายที่เกี่ยวข้อง
กับมือทั้งในงานและนอกงาน คนงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้รับการอบรมความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับการยศาสตร์
สามารถค้นหาปัญหาและนำเสนอวิธีการแก้ไขได้ ผล การประเมินความเสี่ยงที่มือตามแนวทางของ ACGIH
of HAL พบว่า มือซ้ายของคนงานส่วนใหญ่จากระดับความเสี่ยงมากกว่าค่า TLV ร้อยละ 83.33 ลดลงเหลือ ร้อยละ54.16 และมือขวาจากระดับความเสี่ยงมากกว่าค่า TLV ร้อยละ 95.83 ลดลงเหลือ ร้อยละ 45.83 และจากผลการประเมินความเสี่ยงที่มือตามแนวทางของ Strain Index (SI) พบว่ามือซ้าย ระดับ SI อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ร้อยละ 54.16 หลังปรับปรุงผลไม่มีการเปลี่ยนแปลง มือขวา ระดับ SI มากกว่า 7 คิดเป็น 100.00 ลดลงเหลือ ร้อยละ 62.50 ดังนั้น หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Ergonomic: PE) สามารถนำมาใช้ในกระบวนการปรับปรุงสภาพงานเพื่อลดความเสี่ยงที่มือของคนงานพันสายไฟได้


Keywords


การยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม; ความเสี่ยงที่มือ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.