พุทธวิธีการเสริมแรงพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำเสนอพุทธวิธีการเสริมแรงพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการเสริมแรงพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาการเสริมแรงพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย 3) นำเสนอการเสริมแรงพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยที่บูรณาการด้วยพุทธวิธีการเสริมแรงการเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย เป็นปัญหาที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม เด็กได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมขึ้นอย่างง่ายดาย ประการแรก พุทธวิธีการเสริมแรงเป็นวิธีการตามแนวทางตามพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกทรงใช้เพื่อนำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของพฤติกรรม วิธีการคิด การแสดงออกอันเป็นผลมาจากการได้รับสิ่งเสริมแรง (สิ่งเร้า) ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นที่บุคคลดังกล่าวพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ โดยมีเป้าหมายปลายทางที่การพัฒนาพฤติกรรม ความคิดที่พึงประสงค์ให้เจริญงอกงาม เป็นคนดี มีความรู้ อยู่อย่างมีสุข และขจัดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ออกจากตัวมนุษย์ ประการที่สอง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 5 หลักธรรมที่จะทำให้สภาพพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้หมดไป คือ หลักอริยสัจ 4 หลักกัลยาณมิตร หลักโยนิโสมนสิการ หลักไตรสิกขา หลักอิทธิบาท 4 มาใช้สร้างรูปแบบพุทธวิธีการเสริมแรง ประการที่สาม ลักษณะสำคัญของการนำเสนอ การเสริมแรงพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยที่บูรณาการด้วยพุทธวิธีการเสริมแรงการเรียนรู้ คือ การนำพุทธวิธีการเสริมแรง และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 5 หลักธรรม ดังกล่าวโดยใช้งานศิลปะมาใช้เป็นกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กเรียนรู้ด้วยการได้ลงมือปฏิบัติจริงอย่างอิสระ มีความพยายามเอาใจจดจ่อและใช้ปัญญา จากการทดลองใช้รูปแบบพุทธวิธีการเสริมแรงพฤติกรรมการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัย พบว่า หลังการทดลองเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการไปในทิศทางที่ดีขึ้น คือ ค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Keywords
Full Text:
PDFReferences
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กาญจนา พงษ์เจริญ. (2555). การพัฒนาวินัยในตนเองด้วยกิจกรรมการจัดเกมของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย. ฉะเชิงเทรา: รายงานการวิจัยโรงเรียนเซนต์หลุยส์
บุณเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2524.). การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว.
ประเวศ วะสี. (2547). กทม. การพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพสู่สุขภาวะจากการมีจิตใจสูงทั้งประเทศ. มูลนิธิศรีสฤษดิ์วงศ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). “กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย” ในสาระความรู้ที่ได้จากการสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลการวิจัย ผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับ เรื่องกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตฺโต), (2545). การศึกษาฉบับง่าย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กทมฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
ลูกแก้ว มุกดา. (2555). การศึกษาบทบาทของครูในการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาลโรงเรียนสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 อำเภอเดิมบางนางบวช. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริลักษณ์ ทิพย์มนตรี. (2553). “การศึกษาการปรับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดย การใช้การเสริมแรงทางบวก”. วิจัยในชั้นเรียน ภาคเรียนที่ 2.
Refbacks
- There are currently no refbacks.