ประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปัญญารัตน์ นุรักษ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์จำแนกตามศักยภาพ การบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรอายุ 25 ปีขึ้นไป ที่ถูกสุ่มอย่างเป็นระบบ จำนวน 243 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพ รวบรวมด้วยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก คณะกรรมการบริหารกองทุนจำนวน 49 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เพื่อสรุปปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 43.2
ซึ่งมีให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด ถึงร้อยละ 95.5 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของประสิทธิผลการได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ของกองทุนที่มีการบริหารจัดการระดับดี และ ระดับปานกลาง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-2.25, p <0.05) ปัญหาที่สำคัญในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น คือ ความไม่เพียงพอของงบประมาณ ในหมวดค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนให้มีประสิทธิภาพ และขาดการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของกองทุน ดังนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรเพิ่มงบประมาณในการบริหารจัดการ และคณะกรรมการบริหารกองทุน ควรประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของกองทุนให้ประชาชนได้รับทราบ


Keywords


กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น; ประสิทธิผล

Full Text:

PDF

References


กาญจนา นิภานันท์. (2553). การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์ และคนอื่นๆ. (2552). การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี.

กระทรวงมหาดไทย. (2552). คู่มือการดำเนินงานสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

ขนิษฐา นันทบุตรและคนอื่นๆ. (2550). โครงการศึกษาตัวแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบหลักประกันสุขภาพชุมชนระหว่างกองทุนภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลและกองทุนสุขภาพชุมชน ตำบลบุ้งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: กระทรวงสาธารณสุข.

จำรัส ประสิว. (2552). กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น : การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ กรณีศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาญชัย ชัยสว่าง. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชูศักดิ์ ธนทรัพย์สิริกุล. (2554). การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมะขุนหวาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดำเนิน เงินทอง. (2554). ประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร.

ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และคนอื่นๆ. (2550). การวิจัยนโยบายสาธารณะ: ประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่ง.

ทวีศักดิ์ นาทอง. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพิ้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งก่ออำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย. ปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545. (2545, พฤศจิกายน18). ราชกิจจานุเบิกษา. หน้า 9-18.

พีระพงษ์ แดงบุญเลิศ . (2552). ประสิทธิภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัฒน์ กองศรีมา. (2552). ประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอุดรธานี. ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์, กฤดาญชลี เพ็ญภาค และชนาทิพย์ มารมย์. (2550). ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น). กรุงเทพฯ

อรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์.(2551). คู่มือระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล). กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2552). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Etzioin. A. (1964). Modern Organization. Englewood Cliffs, New Jersey:Prentice-Hall.

Fitz Gerald, J. and Fitz Gerald, A. F.(1987). Fundamental of System Analysis : Using

Structured Analysis and Design Techniques. 3rd ed. New York:John Wiley & Sons,

Gibson, J.KL., Ivancevich.J.M., andDonnelly, Jr.J.H. (2000). Organizations:Behavior, structures, and processes. 3rd ed. Dallas.TX:Business.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.