การสื่อสารภาพลักษณ์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ สู่การครองใจของผู้บริโภค
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การสื่อสารภาพลักษณ์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ สู่การครองใจของผู้บริโภค” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการการสื่อสารภาพลักษณ์ของ บริษัท เบนซ์ตลิ่งชันจำกัด ในการนำเสนอความเป็นเมอร์เซเดส-เบนซ์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ตำแหน่งครองใจของผู้บริโภคที่มีความจงรักภักดีต่อ บริษัท เบนซ์ตลิ่งชัน จำกัด โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคลากรในองค์กร ในด้านการสื่อสารภาพลักษณ์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ให้กับผู้บริโภค ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง หัวหน้าแผนก และพนักงานฝ่ายปฎิบัติงาน รวมทั้งสิ้น 13 ท่าน ส่วนในด้านการครองใจสู่ผู้บริโภคที่มีต่อบริษัท เบนซ์ตลิ่งชัน จำกัดนั้น ได้สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกรณีที่ผู้บริโภคมีความจงรักภักดีและมีความผูกพันธ์กับบริษัทฯ มาอย่างยาวนาน โดยตัดสินใจ
เลือกซื้อและเลือกใช้บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่บริษัท เบนซ์ตลิ่งชัน จำกัด ตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 7 ท่าน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การสื่อสารภาพลักษณ์ที่ บริษัท เบนซ์ตลิ่งชัน จำกัด แสดงให้เห็นถึง
การสื่อสารภาพลักษณ์ ดังนี้ 1) ภาพลักษณ์ในด้านการเป็นสถานที่จัดแสดงเมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือโชว์รูม และศูนย์บริการมาตรฐานครบวงจรอย่างมีคุณภาพ มีความทันสมัยและตอบสนองผู้บริโภคได้ตรงตามความต้องการ 2) ภาพลักษณ์ที่แสดงให้เห็นความมีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี มีฐานลูกค้าหรือในที่นี้คือผู้บริโภคประมาณ 15,000 ราย 3) ภาพลักษณ์ของความน่าเชื่อถือในการดำเนินธุรกิจโดยเน้นยํ้าถึงความซื่อสัตย์เป็นสำคัญ 4) ภาพลักษณ์ที่แสดงถึงความผูกพันธ์ดุจญาติมิตร เสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน สัมผัสได้ถึงความจริงใจและไมตรีจิตรที่ให้กับผู้บริโภค 5) ภาพลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการบริการมีความเป็นมืออาชีพ โดยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพิ่มองค์ความรู้และวิทยาการและ
เทคโนโลยี่สมัยใหม่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สามารถสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง ส่วนผลการวิจัยในด้านการครองใจของผู้บริโภคทีมีความจงรักภักดีต่อบริษัท เบนซ์ตลิ่งชัน จำกัด ดังนี้ 1) การครองใจที่สามารถสนองตอบความต้องการเมอร์เซเดส-เบนซ์ ทุกรุ่นทุกสไตล์ได้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง 2) การครองใจในด้านจิตใจ ผู้บริโภคมีความผูกพันธ์กับ บริษัทฯ มาอย่างยาวนาน อยู่ระหว่าง 10-30 ปี 3)การครองใจในด้านความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้สำหรับความมีมาตรฐานของโชว์รูมและศูนย์บริการที่อำนวยความสะดวกสบายแบบครบวงจร 4)การครองใจในด้านความเป็นมืออาชีพ ในการบริหารงาน บุคลากรมีศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงานมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะฝ่ายศูนย์บริการเพื่อการซ่อมบำรุง ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 5) การครองใจในด้านการให้ความสำคัญกับชุมชนและสังคมส่วนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเพื่อสาธารณธกุศลของบริษัทฯ มีความโดดเด่นและชัดเจนมากในด้านนี้
Keywords
Full Text:
PDFReferences
วณนันท์ สินธุศิริ. (2553). ภาพลักษณ์องค์กรและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ขยายจากตราสินค้า ของบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วศมล สบายวัน. (2553). การพัฒนาแบบวัดภาพลักษณ์องค์กร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โอบเอื้อ ชิโนสุนทรากร. (2552). ตัวชี้วัดภาพลักษณ์ตราสินค้าเครื่องสำอางในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติมา จริเกษม. (2553). ภาพลักษณ์และประสิทธิผลการประชาสัมพันธ์ของบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วรรธนฉัตร แสงมีน. (2554). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้าเสื้อผ้าเกรย์ฮาวนด์ออริจินัล และเพลย์ฮาวนด์บายเกรย์ฮาวนด์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญศรี สุวรรณโณชิน. (2552). การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของบัตรเครดิตที่ดำเนินการโดยธนาคารต่างชาติและธนาคารไทยของผู้ใช้บริการ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนนิกานต์ เสริตานนท์. (2554). ประสิทธิผลของความสอดคล้องระหว่างธุรกิจหลักกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่อภาพลักษณ์องค์กร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุบรรณ มณีมูล. (2554). กลยุทธการขยายตราสินค้าโทรศัพท์มือถือกับภาพลักษณ์ตราสินค้าหลักก่อนและหลังการขยายตราสินค้า. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร. (2537). “ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์”. ภาพลักษณ์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพลักษณ์. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วศินี เคารพพงศ์. (2539). ความเหลื่อมกันระหว่างเนื้อหาของสื่อสิ่งพิมพ์กับข่าวประชาสัมพันธ์อันเป็นผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของธนาคารเอเชีย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำนวย วีรวรรณ. (2533). “การแก้วิกฤตการณ์และสร้างภาพลักษณ์ในองค์กร” ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. การวางตำแหน่งครองใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2541). ภาพลักษณ์นั้นสำคัญไฉน. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Kotler, P. & Keller, K.L. (2008). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Keller, K.L. (2003). Strategic brand management: Building, measuring, and managing brand
equity (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall, p.539.
Refbacks
- There are currently no refbacks.