รูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของสมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ธรรมพร ตันตรา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการดำรงสถานะความเป็นกลุ่มองค์กรชุมชนใน
อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อสืบค้นแบบแผนการเรียนรู้ของกลุ่มองค์กรชุมชน 3) เพื่อศึกษามูลเหตุเงื่อนไขสนับสนุนการเรียนรู้ของกลุ่มองค์กรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่หน่วยวิเคราะห์ในการวิจัย คือ กลุ่มองค์กรชุมชนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย สมาชิกคณะกรรมการกลุ่มองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและท้องที่ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้แทนกองทุนพัฒนาสังคม ผู้แทนสถาบันพัฒนา องค์กรชุมชนและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการสนทนากลุ่มย่อย
ผลการวิจัยพบว่า การดำรงสถานะทางด้านการก่อเกิดกลุ่มองค์กรชุมชนส่วนใหญ่มาจาก
การจัดตั้งโดยหน่วยงานรับผิดชอบของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีการบริหารจัดการและการดำเนินโครงการ กิจกรรมของกลุ่มส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม มีแนวทางการบูรณาการโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมแต่ยังไม่กว้างขวางสำหรับการสร้างเครือข่ายในระดับตำบลอำเภอ และจังหวัด ยังไม่มีแนวทางหรือรูปแบบที่ชัดเจน ส่วนแนวทางการสร้างความมั่นคงของกลุ่มองค์กร ชุมชนนั้นส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับตัวผู้นำกลุ่มองค์กร งบประมาณ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุน
สำหรับแบบแผนการเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชนพบว่าส่วนใหญ่มีรูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะว่าตามกันมาสืบทอดตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนรู้จากประสบการณ์ และการปฏิบัติ เรียนรู้ตามการจูงใจเรียนรู้ตามความจำเป็น และเรียนรู้ตามผู้นำ ในส่วนของมูลเหตุเงื่อนปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วยความสำคัญ ความจำเป็น ภาระหน้าที่ ความคาดหวังที่ได้จาการเรียนรู้ รวมถึง แหล่ง สถานที่ รูปแบบ เทคนิควิธีการ การจูงใจ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน ความรัก ความศรัทธาต่อผู้ถ่ายทอด ประโยชน์ต่างตอบแทนและการยอมรับความมีหน้ามีตาในสังคม


Keywords


แบบแผนการเรียนรู้; การดำรงสถานะ; การยอมรับความมีหน้ามีตา

Full Text:

PDF

References


กีรติ ยศยิ่งยง. (2548). การวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ:

มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย).

กุหลาบ รัตนสัจธรรม, วสุธร ตันวัฒนกุล, อรพิน ทองดี, และสุนิศา แสงจันทร์. (2545). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจ ตำบลห้วงนํ้าขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี้.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส.

แก้วตา ไทรงาม, ณรงค์ ดาวเจริญ, เวช มงคล และ ประชุม โพธิกุล. (2548). ผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่น: ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ ก็อปปี้.

ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์ และวไลทัศน์ วรกุล. (2547). แนวคิด แนวทาง และกรณีตัวอย่างการดำเนินงาน ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: เอ ที เอ็นโปรดักชั่น.

งามเนตร จริงสูงเนิน. (2538). องค์กรชุมชนเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ลุ่มนํ้า กรณีศึกษาองค์กรชุมชนเครอืข่ายลุ่มแม่นํ้าราก - แม่เลา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จักรรัช ธีระกุล. (2542). สังคมวิทยาเบื้องต้น. นครศรีธรรมราช: สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ณัฐชัย ชีวะศิริ. (2544). ความเข้มแข็งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน: กรณีศึกษา บ้านป่าโป่ง ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยำลัยเชียงใหม่.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, วสันต์ เหลืองประภัสร์, อลงกรณ์ อรรคแสง, สุวัสดี โภชน์พันธุ์,

ปรัชญา ชีพเจริญรัตน์, มรุต วันทนากร และ จงรัก จารุพันธุ์งาม. (2546). บทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านและการปกครองท้องที่. กรุงเทพฯ: งานวิจัยทางกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการ.

นงเยาว์ เอียดตรง. (2543). การวิเคราะห์หลักสูตรสู่แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการทุกกลุ่ม

ประสบการณ์ ระดับประถมศึกษาปี่ที่ 5-6. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเน้จเม้นท์.

ลำแพน จอมเมือง. (2540). บทบาทของธุรกิจชุมชนที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการป่าชุมชน. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยำลัยเชียงใหม่.

สันติ ดาวเวียงกัน. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้านกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สัมพันธ์ เตชะอธิก. (2540). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมุน อมรวิวัฒน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ เสนอ คณะกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา แห่งชาติ.

ศุภัทรา ผลเพิ่ม. (2551). กระบวนการในการจัดการป่าเศรษฐกิจชุมชน บ้านหัวทุ่ง อำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหำบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Franklin Covey. (1999). The Four Roles Leadership. USA: Fraaklin Covey Co.,Ltd.

Fred E. Fiedler. (1967). A Theory of Leadership Effectiveness. New York : McGraw Hill.

Gulick L. and Urwick J. (1987). Notes on the Theory of Organization in Gulick . Urwick, L.(ed) Paper on The Science of Administration. New York : Institute of Public Administration.

Gusztav Names. (2005). Theory and Practice of Practice of Supervision. New York: Dodd & Mead Company.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.