การพัฒนารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ : กรณีศึกษาเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ การวิจัยครั้งนี้มี 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย 19 หมู่บ้าน ขั้นตอนที่ 2 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) ที่เน้นการจัดการความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วม และขั้นตอนที่ 3 ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาสร้างรูปแบบและประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า:
1 บริบทชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสาน อยู่รวมกลุ่มกันแบบเครือญาติ
มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านภาษา ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อ
2. สภาพปัญหาป่าไม้เขตป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลทุ่งพระยา มีการตัดไม้ทำลายป่าเกิดจาก
ความต้องการพื้นที่ทางการเกษตร การเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ และไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า ท้องถิ่นและภาครัฐขาดงบประมาณสนับสนุน
3. รูปแบบกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ประกอบด้วย
5 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 การทำงานแบบ 3 ประสาน ประกอบด้วย นักวิชาการ ชุมชนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐ มิติที่ 2 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ มิติที่ 3 การริเริ่มให้เกิดโครงการปฏิบัติจริง มิติที่ 4 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มิติที่ 5 การพัฒนาให้เกิดสถาบันในชุมชน และองค์ประกอบของรูปแบบ มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การค้นหาบุคคล/กลุ่มที่สนใจ 2) การจัดตั้งภาคีร่วมพัฒนา 3) การวางแผน 4) การดำเนินโครงการ 5) การตัดสินใจ 6) การประเมินผล 7) การร่วมรับผลประโยชน์
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กาญจนา เกียรติมณีรัตน์. (2546). ภูมิปัญญาในการทอผ้าพื้นเมืองเหนือ: รูปแบบของการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กิติชัย รัตนะ. (2555). คู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูลุ่มนํ้าและทรัพยากรธรรมชาติโดยฐานชุมชน. ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักสากล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและการพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
กรมส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. (2550). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออก. สำนักงานการจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จักรกฤษณ์ พุ่มไพศาลชัย. (2552). วิทยากรกระบวนการ. กรุงเทพฯ: มีเดียการพิมพ์.
จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2556). รายงานการวิจัย การพัฒนารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษา บ้านทาป่าเป่า ตำบลท่าปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วารสารการวิจัยและพัฒนา มจธ. 36(2)56.
เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. (2545). การวิจัยชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.
นลีนี กังศิริกุล และปรีชา อุยตระกูล. (2547). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: เรียนรู้จากวังนํ้าเขียว. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์.
นิวัติ เรืองพานิช. (2548). ป่าและการป่าไม้ในประเทศไทย. ภาควิชาวิทยาป่าไม้. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
นิศา ชูโต. (2540). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พี เอ็น การพิมพ์.
บัณฑูรย์เศรษฐศิโรฒม์ และคณะ. (2554). แนวคิดและการพัฒนาของกลไกเรดด์และเรดด์พลัส.
กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.
เพ็ญประภา ม้าแก้ว. (2556). การจัดการป่าชุมชนบ้านดอนมูล ตำบลเมืองชุม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 5(6), 39-47.
เพ็ญศรี ม้าแก้ว. (2556). การจัดการป่าชุมชนบ้านดอนมูล ตำบลเมืองชุม อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย.วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 5(6)56 : 39-47.
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด, กอบกุล รายาคร. (2550). ร่าง พ.ร.บ. เครื่องมือเศรษฐศาสตร์ในการจัดการ
สิ่งแวดล้อม. งานวิจัยนำเสนอ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
รายงานแผนพัฒนาหมู่บ้าน. (2553). ตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา.
ลดาวัลย์ พวงจิตร. (2554). การพัฒนาระดับการปล่อยก๊าชเรือนกระจกอ้างอิงตามกลไกเรดด์
สำหรับประเทศไทย. ชุดโครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม
และยุทธศาสตร์ลดโลกร้อน ระดับที่ 6.
วารสารการจัดการป่าไม้. (2553). 4(8)76
วรรณเพ็ญ เกิดสุวรรณ. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมระหว่าง
ภาครัฐกับชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังลุง ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี
จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ สาขายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2551). หนึ่งทศวรรษรางวัลลูกโลกสีเขียว. กรุงเทพฯ: การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย.
สันติ สุขสะอาด. (2552). วารสารการจัดการป่าไม้. 3(6), 122-133.
สุธาวัลย์ เสถียรไทย. (2554). ภูมิปัญญาตะวันออก: ทางเลือกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.
_______. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อุกฤษณ์ปัทมานันท์. (2546). วิกฤตกาณ์เศรษฐกิจ การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gibson, C.H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of advance nursing. 16, 354-361.
Hokanson, H. (1992). Empowerment in nursing education: a concept analysis and application to
philosophy, learning and instructin. Journal of advance nursing. 17, 610.
Popham, W. J. (1993). Edcuational evaluation. 3 th ed. MA: Allyn and Bacon.
Witkin, B.R. and J.W. Altschuld. (1995). Planning and conducing needs assessments: apratica guide.
Thousand Oakes, CA, SAGE.
Refbacks
- There are currently no refbacks.