รูปแบบแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการนำ มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา กับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางเพศ

ดวงกมล จันทรรัตน์มณี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางเพศจากการถูกดำเนินคดีอาญา 2) ค้นหารูปแบบในการดำเนินคดีอาญากับเด็กและเยาวชน ที่กระทำความผิดทางเพศ 3)สร้างรูปแบบแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการนำมาตรการพิเศษ แทนการดำเนินคดีอาญากับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางเพศ วิธีการศึกษาเป็นวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูล คือ ฝ่ายผู้กระทำผิด ฝ่ายผู้เสียหายและเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน จำนวน 71 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินและ
รับรองรูปแบบ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความผลจากการวิจัยพบว่า สถานการณ์ในปัจจุบันเด็กและเยาวชนกระทำความผิดทางเพศจัดอยู่ในลำดับที่ 6 ของประเทศ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน คือ 1) สิทธิเสรีภาพในการดำรงชีวิต 2) สภาพจิตใจ
เป็นตราบาปติดตัว 3) ด้านครอบครัว 4) ด้านการเรียนและอาชีพ 5) ด้านสภาพสังคมและชุมชน เป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน รูปแบบในการดำเนินคดีทางอาญาของเด็กและเยาวชน คือ กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก และกระบวนการยุติธรรมทางเลือก ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความเห็นพ้องกันควรนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาบังคับเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กและเยาวชนรวมถึงผู้เสียหายรูปแบบแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการนำมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญากับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางเพศ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีผู้เสียหายไม่ตั้งครรภ์ และกรณีผู้เสียหายตั้งครรภ์


Keywords


รูปแบบแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม; มาตรการพิเศษแทนการดำ เนินคดีอาญา; เด็กและเยาวชนที่กระทำ ความผิดทางเพศ

Full Text:

PDF

References


กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2547). กระบวนการยุติธรรมทางเลือก : การส่งเสริมการระงับข้อพิพาทชุมชน ณ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพมหานคร.

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2550). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. ในเอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ยุติธรรมชุมชน..หนทางสู่สังคมแห่งความเป็นธรรม. (หน้า 15-16). กระทรวงยุติธรรมและโครงการพัฒนาระบบกฎหมายไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : พลสยาม พริ้นติ้ง.

ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทางการพิจารณากระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูชั้นก่อนฟ้องคดี พ.ศ. 2557.

คณิต ณ นคร. (2553). กฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

________. (2551). กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). วิจัยเรื่องการบังคับใช้โทษทางอาญาประเภทอื่นที่มิได้อยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญาของไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2552). การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในสถานศึกษา : กรอบแนวคิดความสำคัญ และความท้าทาย. วารสารร่มพฤกษ์, 3(27), หน้า 27.

ชัยชนะ พรรัตนพันธุ์. (2546). การคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่เป็นเหยื่อของการกระทำความผิดทางเพศศึกษาเฉพาะกรณีการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บทความคอลัมน์เสียง สตรี. (2550, พฤศจิกายน 10). โพสต์ทูเดย์. หน้า 74.

มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์. (2551). กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.ลัดตนา อินทพล. (2553). วิทยานิพนธ์ การหันเหเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย – ลาว. นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรุดา สมพอง. (2551). รายงานวิจัยเรื่องการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์สำหรับเด็กและเยาวชนในชั้นศาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สรวิศ ลิมปรังษี. (2549). การไกล่เกลี่ยฟื้นสัมพันธ์ในคดีอาญาประสบการณ์ของศาลนิวซีแลนด์. เอกสารประกอบสัมมนาทางวิชาการ.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2555). รายงานสถานการณ์เด็ก. สืบค้นเมื่อวันที่ พฤษภาคม 8, 2557. จาก www.boe.moph.go.th.

อัจฉรียา ชูตินันท์. (2551). รายงานวิจัยเรื่องกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยวิธีการประชุมกลุ่มครอบครัว และชุมชนเพื่อหันเหคดีเด็กและเยาวชน โดยไม่ต้องขึ้นสู่ศาลเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Lily, J.R. and others, Criminological Theory : Context and Consequences, 3rd, (SAGE Publications: London, 2002), p. 110.

United Nations Rules for the Protection of Juvenile Deprived of their Liberty. (1990). สืบค้นเมื่อ มกราคม 21, 2556, จาก http://www.un.org/documents/ga/res/40/a40r033.htm.

United Nations Standard Minimum Rules for the Administration of Juvenile Justice. (1985). สืบค้นเมื่อ มกราคม 21, 2556, จาก http://www2.ohchr.org/english/law/pdf/beijingrules.pdf.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.