การประเมินการจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลและความสัมพันธ์กับอัตราความชุก ของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาการจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลและ
ความสัมพันธ์กับอัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยประชากรกลุ่มเป้าหมายคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม การศึกษาพบว่า
พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี และมีสถานภาพโสด ระดับการศึกษา ปริญญาโทเป็นส่วนมาก รายได้ส่วนมากเฉลี่ย 25,001 - 40,000 และปฏิบัติงานในกลุ่มงานวิชาการพยาบาล และมีประสบการณ์ไม่เกิน 1 ปี มากที่สุด
การประเมินการจัดการความปลอดภัย พบว่า อยู่ในระดับมาก และอัตราความชุกของ
การเกิดอุบัติเหตุอยู่ในระดับน้อย การจัดการความปลอดภัย ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย ด้านการจัดการเครื่องมือและสาธารณูปโภค และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัย ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก
ประสบการณ์การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน พบว่า อัตราความชุกของการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงาน จากการการสัมผัสสิ่งก่อให้เกิดความเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานพบว่าส่วนใหญ่มีประสบการณ์จากการถูกเข็มทิ่มตำ สิ่งคัดหลั่งผู้ป่วยกระเด็นเข้าปาก หรือเข้าตา และสูดดม หรือสัมผัสรังสีระหว่างการปฏิบัติงาน
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความปลอดภัยกับอัตรา
ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล พบว่า มีความสัมพันธ์กันระดับตํ่า โดยมีความสัมพันธ์ระหว่าง ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม กับอัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาลในระดับตํ่า
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ปรัชญา ผ่องใส. (2546). การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนและหลังการใช้ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มอก. 18001) ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตนํ้าตาล/ปรัชญา ผ่องใส. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รุจิรา เจียมอมรรัตน์, สุนีย์รัตน์ ภู่เอี่ยม วัชรี อาภาธีรพงศ์. (2549). บทบาทหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาลในระบบบริการสาธารณสุข. ใน เรณู สอนเครือ (บรรณาธิการ). แนวคิดพื้นฐาน และหลักการพยาบาล เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์การพิมพ์.
สุจิตรา เอี่ยมสะอาด. (2548). การถูกเข็มทิ่มตำหรือของมีคมบาดจากการให้การพยาบาลของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ,บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อมรรัตน์ อุทัยสาง. (2547). การจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยมาตรฐาน มอก.18001 และ OHSAS18001 ในประเทศไทย /อมรรัตน์ อุทัยสาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อดุลย์ บัณฑุกุล. (2544). คู่มือโรค เรื้อรัง. กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.
Rogers, E.M. (2003). Diffusion of innovations. Fifth edition. New York: Free Press. A comprehensive textbook that reviews the main investigations of diffusion and provides a general framework (which is an updated version of the Ryan and Gross paradigm)
Refbacks
- There are currently no refbacks.