รูปแบบการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

เกื้อ ชัยภูมิ

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาความหมายความเป็นมาและความสำคัญของ
การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา ทั้งเพื่อศึกษาพัฒนาการการสวดมนต์ และนำเสนอรูปแบบการสวดมนต์ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท
ผลการวิจัยพบว่า การสวดมนต์หรือการเจริญพระพุทธมนต์หรือพระปริตร คือวิธีนำพระพุทธวจะ
มาเปล่งเสียง ๕ วิธีคือ ๑. เปล่งเสียงสวดในใจ ๒. สวดแบบร่ายมนต์ (ทั้งสวดในใจและเปล่งเสียง) ๓. สวดแบบมีเสียงแผ่วเบา ปากขมุบขมิบ ๔. สวดดังพอได้ยิน ไม่เกิน ๑๐ เมตร ๕ สวดเสียงดังได้ยินไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร รูปแบบของวิธีสวดมี ๒ วิธี กล่าวคือ สวดโดยออกเสียงปกติ และวิธีสวดโดยการออกเสียงแบบเป็นทำนอง เรียกว่า สวดแบบสรภัญญะ วิธีสวดมนต์โดยออกเสียงปกติ มีรูปแบบของงานที่จะต้องสวดมนต์มี ๔ งาน คือ การสวดมนต์ทำวัตรเช้า - เย็น การสวดมนต์งานมงคล การสวดมนต์งานอวมงคล การสวดมนต์งานพิธีรายละเอียดการสวดในรูปแบบปกติ การสวดมนต์ทำวัตรแบ่งออกไปเป็น ๒ รูปแบบ นั่นคือ รูปแบบสวดมนต์ทำวัตรเช้า รูปแบบสวดมนต์ทำวัตรเย็น สำหรับการสวดมนต์งานมงคล มีหลายรูปแบบ แบ่งไป
ตามวัตถุประสงค์ของงาน กล่าวคือ การสวดเพื่อให้สิ่งใดเจริญรุ่งเรืองก็สวดเพื่อวัตถุประสงค์นั้น เช่น การสวดมนต์เพื่อให้บ้านที่ปลูกใหม่เจริญรุ่งเรื่อง ก็สวดตั้งเจตนาเพื่อบ้านเจริญมั่นคง จุดอ่อนของบ้าน ส่วนใหญ่กลัวไฟใหม้บ้าน ก็จะเพิ่ม วัฎฎกสูตรคาถาดับไฟลงไป งานวันเกิดก็อยากให้อายุมั่นขวัญยืนก็สวดธัมจักกัปปวัตตนสูตร พระสูตรที่ให้พระพุทธศาสนาเจริญ จุดอ่อนของอายุคือการสิ้นอายุก็เพิ่มบทโพชฌงค์เข้าไป การสวดงานมงคลสมรส จุดอ่อนของหญิงสมัยโบราณคือการคลอดบุตร ก็เพิ่มบทอังคุลิมาลปริตรเข้าไปสวดเพิ่มพลังให้คลอดบุตรง่าย ส่วนงานอื่น ๆ ก็สวดบทสวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่มุ่งหมายในทำนองนี้ การสวดในงานอวมงคล ก็ปรารภเหตุที่สูญเสียก็สวดมนต์มาติกาบังสุกุลโดยถือว่า พระพุทธมารดาสวรรคคตแล้วไปเกิดในสรรคชั้นดุสิต พระพุทธองค์เสด็จตามแสดงอภิธรรมบนสวรรค์นั้น การสวดบทมาติกามีการบังสุกุล ที่ออกเสียงว่า กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา จึงเป็นสื่อว่าสวดให้คนตายฟัง ดังนั้นจึงมี
การสวดมาติกา หรืออภิธรรม ๗ คัมภีร์ในงานสูญเสีย การสวดงานพิธี ก็คือพิธีที่จัดขึ้นเพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ที่เกิดจากภัยภายนอกตัวเราเป็นส่วนใหญ่ การสวดก็อ้างพลังภายนอกคืออานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาทิ พระรัตนตรัย ยักษ์ จึงสวดภาณยักษ์ ต่อไปถึงอานุภาพพระรัตนตรัย ซึ่งเหนือกว่ายักษ์ที่เรียกว่า สวดภาณยักษ์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายขจัดปัดเป่าอำนาจจากภูตผีปีศาจ ประการที่สอง การสวดแบบสรภัญญะ ก็การเอาบทสวดมนต์ที่กล่าวแล้วนั้นเองมาสวดเป็นทำนอง เช่น บท นโม การสวดมนต์แบบมีทำนองนี้ ในครั้งพุทธกาลมีพระเถระชื่อ โสณโกฬิวิสะ สวดได้ไพเราะมาก เป็นเอตทัคคะในการสวดสรภัญญะประเทศไทยประยุกต์เอามาสวด เริ่มตั้งแต่ตั้ง นโม ๓ ชั้น ๕ ชั้น เหนือสิ่งอื่นใด บุคคลย่อมได้รับประโยชน์อานิสงส์ โดยตรงจากการเจริญพระพุทธมนต์ แม้ตามเอกสาร ผู้ที่เจริญพระพุทธมนต์มีตั้งแต่พระบรมศาสดาพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น ระดับพระมหากษัตริย์ก็นับจากคณะเจ้าลิจฉวี เมืองไพสาลี ระดับชาวบ้าน เช่น เด็กชายอายุวัฒนกุมาร จวบจนถีงปัจจุบัน อาทิ พระมหาธนศักดิ์ จินตกวี และคนอื่น ๆ ในปัจจุบัน สรุปได้ว่า การจดจำพุทธธรรมที่มีอยู่ในบทสวดมนต์นั้น ๆ นั่นคือ จุดสุดยอดของประโยชน์จากการเจริญมนต์


Keywords


การสวดมนต์พระปริตร; ทำนองสรภัญญะ; การสวดมนต์ผู้วิจัยได้รวบรวมไว้เบื้องต้น

Full Text:

PDF

References


มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๓๙). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีสยามรัฐ. (๒๕๓๙). ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ รจนา, วิสุทธิมรรคฉบับสมบูรณ์. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและ เรียบเรียง.

แผนกตำรา. (๒๕๔๓). พระธรรมปทัฏฐกถาแปล ๑–๘ ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระสิริมังคลาจารย์. (๒๕๕๐). คณะกรรมการแผนกตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย, มงคลทีปนี ภาค ๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง. (๒๕๔๙). มนต์พิธีชาวพุทธ. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์. (๒๕๕๔). หนังสือสวดมนต์. กรุงเทพฯ: สัมปชัญญะ.

กรมศิลปากร. (๒๕๓๕). มิลินทปัญหา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

พระวิสุทธิสมโพธิ. (๒๕๐๘). ชุมนุมสวดมนต์ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ: ธรรมบรรณาคาร.

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสร). (๒๕๕๕). ตำนานพระมหาปริตร. กรุงเทพฯ: ไม่ปรากฏโรงพิมพ์.

พระราชวรมุนี (ประยูร สัมมจิตโต.). (๒๕๔๐). หนังสือธรรมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระกิตติวงศ์เวที. (๒๕๕๑). อุปสมบทวิธีวัดเบ็ญจมทบพิตร. กรุงเทพฯ: ต้นบุญ.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (๒๕๕๔). ความรู้เรื่องสวดมนต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ). (๒๕๔๕). อานิสงส์การสวดพระพุทธคุณ. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

บริษัท เสริมดวง สหมิตรจำกัด. (๒๕๕๖). หนังสือสวดมนต์. กรุงเทพฯ: สยาม ไฮ คิว พรินติ้ง.

พระมหาทวี ฐานวโร รศ.ดร.. (๒๕๔๗). บทสนทนาธรรม. กรุงเทพฯ: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

เสถียรพงษ์ วรรณปก (ผศ.พิเศษ). (๒๕๔๒). สวดมนต์เจ็ดตำนานและบทสวดมนต์ไหว้พระ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธนิต อยู่โพธิ. (๒๕๔๓). อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ณชั ชาจ นั ทร์

เจ้าฉาย. (๒๕๕๖). สวดวันนี้ ดีกว่ารอชาติหน้า. กรุงเทพฯ: ดี. เอม. จี.

พระครูวิริยกิจโกศล. (๒๕๕๕). หนังสือไหว้พระวัดปรางค์มุนี. สิงหฺบุรี.

กรรมการวัดภูริทัตตาราม. (๒๕๕๕). การสวดมนต์ไหว้พระ. สกลนคร.

คณะกรรมการวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ. (๒๕๔๗). พระเทพรัตนกวี ประธานกรรมการ. หนังสือสวดมนต์, พิษณุโลก : โฟกัสมาสเตอร์ปริ้นต์.

อนุศาสนาจารย์ทหารบก. (๒๕๑๘). กรมยุทธศึกษาทหารบก. คู่มือกองอนุศาสนาจารย์ทหารบก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก.

หอสมุดกลาง กองวิชาการ ๐๙.. (๒๕๓๙). ประเพณีพิธีมงคลสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ: เจริญกิจ.

พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์. (๒๕๕๖). พิธีการสวดนพเคราะห์. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

วัดสุทัศน์เทพวราราม. (๒๔๙๙). สำนักงานศาลาหลังพระอุโบสถ, ตำราสวดนพเคราะห์. กรุงเทพฯ: ฉบับเขียนด้วยลายมือ.

เบญญาภา กุลสิริชัย. (๒๕๕๕). “การสวดมนต์กับการรักษาโรคซึมเศร้า”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คริสต์จักรประเทศไทย. วารสารแถลงกิจ (บุลเลติน) พ.ศ.๒๕๐๕.

สรุปคำบรรยายวิทยากร. (๒๕๕๗). งานสวดนพเคราะห์และภาณยักษ์, วัดราชบูรณะ อ.เมือง จ.พิษณุโลก. ตุลาคม.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.