การเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านละครโทรทัศน์ไทยของนักศึกษาจีน : กรณีศึกษานักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

Jinghong XU

Abstract


การศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านละครโทรทัศน์ไทยของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษานักศึกษาจีน
ที่เรียนภาษาไทยในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยจากละครโทรทัศน์ไทย (2) เพื่อศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านละครโทรทัศน์ไทยของนักศึกษาจีน
การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บข้อมูลด้วยวิธี
การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งส่วนของการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยจากละครโทรทัศน์ชุด “สุภาพบุรุษจุฑาเทพ” ส่วนการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยได้เลือกทำการศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านละครโทรทัศน์ดังกล่าวใน 2 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่มีต่อวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาจีนหลังจากได้ดูละครโทรทัศน์ไทย
ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ชุดดังกล่าวมีเนื้อหาที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยใน 7 ด้าน ได้แก่ สถาปัตยกรรม การแต่งกาย อาหาร ค่านิยม ดนตรี ภาษา และอุปนิสัยตัวละคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่รับชมละครโทรทัศน์ชุดนี้ เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในระดับที่แตกต่างกันไปตามพื้นฐานของแต่ละคน ซึ่งการรับรู้วัฒนธรรมไทยที่ปรากฏอยู่ในละครชุดนี้มีอิทธิพลทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดทัศนคติใน 4 ด้าน ได้แก่ มีความเข้าใจและชื่นชอบวัฒนธรรมไทยเพิ่มขึ้น มีความสนใจเรียนภาษาไทยมากขึ้น เกิดการเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีน และเกิดความสนใจอยากไปสัมผัสวัฒนธรรมไทยด้วยตนเอง ทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกนี้ได้นำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องในรูปแบบที่แตกต่างกันตามมา เช่น มีการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม มีการวิพากษ์วิจารณ์ละครโทรทัศน์ และเกิดการเลียนแบบการกระทำ


Keywords


การเรียนรู้วัฒนธรรม; ละครโทรทัศน์ชุด “สุภาพบุรุษจุฑาเทพ”; นักศึกษาจีน

Full Text:

PDF

References


กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2545). สื่อบันเทิง: อำนาจแห่งความไร้สาระ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2547). วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พวงผกา คุโรวาท. (2539). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2546). ผลการสื่อสาร. ใน ปรมะ สตะเวทิน (บรรณาธิการ), หลักและทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 20). (หน้า 141-142). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

ไพบูลย์ เทวรักษ์. (2540). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอส ดี เพรส การพิมพ์.

นิตยา บุญสิงห์. (2544). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

วันวิสา สันทวิจิตรกุล และ นฤมิตร สอดศุข. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อละครโทรทัศน์ไทยในเมือง

กวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน. การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ.4 (1), 301-315.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chen, F. (2011). The research on the spreading of Thai drama in China. Master thesis Chongqing University.

Deng, J. (2013). Analysis of the Thai TV drama’s audience receptive psychology in China. Master Thesis Southwest Jiaotong University.

Hou, F. F. (2010). The communication analysis of the Thai TV drama to enter the Chinese market. Master thesis Guangxi University.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.